ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนกับปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

Main Article Content

วิไลลักษณ์ เสรีตระกูล
พีรวัฒน์ ชูเกียรติ

Abstract

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนกับปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามรูปแบบการเรียนตามแนวคิดของกราซ่าและไรซ์แมน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาใช้รูปแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วมมากที่สุด และใช้รูปแบบการเรียนแบบหลีกเลี่ยงน้อยที่สุด  นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงใช้รูปแบบการเรียนแตกต่างกัน นักศึกษาต่างชั้นปีกันใช้รูปแบบการเรียนแตกต่างกัน นักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดกับนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพ ฯ ใช้รูปแบบการเรียนแตกต่างกัน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับรูปแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วม แต่มีความสัมพันธ์ทางลบกับรูปแบบการเรียนแบบหลีกเลี่ยง ส่วนรูปแบบการเรียนอีก 4 รูปแบบ คือ แบบอิสระ แบบร่วมมือ แบบพึ่งพิง และแบบแข่งขัน ไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


 


                The objectives of this research were to study learning styles of students in Bangkokthonburi University, and examine relationship between learning styles and students’ personal profile. This quantitative research used Grasha & Reichman Learning style questionnaires to collect data from a sample of 340 undergraduate students. Then data were analyzed by using t-test, Analysis of Variance and Pearson’s Correlation Coefficient test. The results revealed that students used a participation learning style the most while they used an avoidant  learning style the least. Male and female students used different learning style, students in different class level used different learning style, in addition, students with domicile in Bangkok and those residing in other provinces had different learning styles. Students’ achievement had positive relationship with participation learning style but had negative relationship with avoidant learning style. Others 4 learning styles (Independent, collaborative, dependent and competitive style) had no relationship with students achievement.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ