การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ของนักเรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2

Main Article Content

ฐิตพัฒน์ สตางค์จันทร์
ภัทรธิรา ผลงาม
ภัทราพร เกษสังข์
จุลดิษฐ อุปฮาต

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษา สภาพปัจจุบัน สภาพปัญหา และความต้องการ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 2 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 2 (3)เพื่อนำรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21ของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 2 ไปสู่การปฏิบัติ และ (4) เพื่อประเมินการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 2


               รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 2 จำนวน 313 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มตัวอย่าง เชิงคุณภาพกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้บริหารจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 2 ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เจาะลึก ประเด็นการสนทนากลุ่ม และประชุมระดมความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ( ) ความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)  ส่วนเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม การประชุมระดมความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า


               1) สภาพปัจจุบันมีการดำเนินกิจกรรมตามแนวทางจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่ยังไม่มีกิจกรรมของโรงเรียนอย่างชัดเจน ปัญหาที่พบ ได้แก่ ขาดงบประมาณสนับสนุน บุคลากรไม่เพียงพอ ขาดรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมและไม่ได้เกิดจากความต้องการ ขาดการมีส่วนร่วม ส่วนความต้องการจัดกิจกรรม พบว่า ต้องการพัฒนา 4 ด้านร่วมกันได้แก่ การพัฒนาสมอง การพัฒนาจิตใจ การพัฒนาทักษะการปฏิบัติ และการพัฒนาสุขภาพ


               2) ผลการพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 2 พบว่า กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ประกอบด้วย รูปแบบกิจกรรม 5 ด้าน และมีกิจกรรมย่อยใน 5 ด้าน จำนวน 16 กิจกรรม ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาสมอง (Head) มี 4 กิจกรรม ดังนี้  (1) กิจกรรมการเขียนเรียนรู้ภาษาอังกฤษ (2) กิจกรรมการเขียนเรียนรู้คำ (3) กิจกรรมสูตรคูณพาเพลิน (4) กิจกรรมสื่อของหนูสู่การเรียนรู้ ด้านการพัฒนาจิตใจ (Heart) มี 3 กิจกรรม (1) กิจกรรมโรงเรียนสวยด้วยมือเรา  (2) กิจกรรมสติมาปัญญาเกิด (3) กิจกรรมตักบาตรความดี ด้านการพัฒนาทักษะการปฏิบัติ/ทักษะชีวิต (Hand) มี 3 กิจกรรม ดังนี้ (1) กิจกรรมจิตรกรน้อย (2) กิจกรรมตามรอยพ่อขอพอเพียง (3)กิจกรรมสมุนไพรห่างไกลโรค ด้านการพัฒนาสุขภาพ (Health) มี 3 กิจกรรม ดังนี้ (1) กิจกรรมฟันสวยยิ้มใส (2) กิจกรรมออกกำลังกายหายไกลโรค (3) กิจกรรมเกมพื้นบ้าน ด้านกิจกรรมที่รวมทั้ง 4H มี 3 กิจกรรม ดังนี้ (1) กิจกรรมโครงงานอาชีพแจกันจากเศษผ้า (2) กิจกรรมโครงงานคุณธรรม (3) กิจกรรมสานฝันสู่แรงบันดาลใจ 


               3) ผลการประเมินผลรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 2 พบว่า กิจกรรมทั้ง 5 รูปแบบ ได้แก่ (1) กิจกรรมด้านการพัฒนาสมอง (Head) (2) กิจกรรมด้านการพัฒนาจิตใจ (Heart) (3) กิจกรรมด้านการพัฒนาทักษะการปฏิบัติ/ทักษะชีวิต (Hand) (4) กิจกรรมด้านการพัฒนาสุขภาพ (Health) และ (5) กิจกรรมที่พัฒนารวมทั้ง 4 ด้าน (4H) และกิจกรรมย่อยในแต่ละด้าน มีความเหมาะสมทุกๆ กิจกรรม


               4) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 2 โดยการนำกิจกรรมต่างๆไปทดลองใช้ เป็นเวลา 1 ภาคเรียน พบว่าเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อนักเรียนทั้ง 5 ด้าน เกิดการเรียนรู้โดยการปฏิบัติผ่านกิจกรรม ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติจริง


 


The purposes of this research were (1) to study the current conditions, problems and demands to enhance the 21st century learning of students in schools under Loei Primary Educational Service Area Office 2; (2) to develop activities to enhance the 21st century learning of students in schools under Loei Primary Educational Service Area Office 2; (3) to apply the pattern of enhancement in the 21st century learning of students in schools under Loei Primary Educational Service Area Office 2 to the practice; and (4) to evaluate the activity development pattern of enhancement in the 21st century learning of students in schools under Loei Primary Educational Service Area Office 2. This mixed research includes quantitative and qualitative methods. Samples included 313 persons. In terms of qualitative method, the target group consisted of executives in Loei Primary Educational Service Area Office 2, school executives, teachers, parents and students. The tools for data collection were a questionnaire, in-depth interview, focus group, and brainstorming. The quantitative data analysis applied percentage, frequency, mean, and standard deviation. For qualitative data analysis, the research utilised in-depth interview, focus group, and brainstorming. Research findings :


               (1) Nowadays, the operation to organize these activities in the school in accordance with Office of the Basic Education Commission is not obvious. Problems include the deprivation of supportive budget, insufficiency of personnel, inappropriateness of activity patterns that do not originate from demands, and lack of participation to organize 4-dimensions activities that focus on brain development, mental development, practical skill development, and health development.


               (2) Development of activities to enhance the 21st century learning model of students in schools under Loei Primary Educational Service Area Office 2 included the 5 principal components which are: (1) Brain Development (Head) (2) Mental Development (Heart), (3) Practical/Living Skill Development (Hand), (4) Health Development (Health), and (5) Activity Development including 4H.


               (3) Regarding testing and evaluation of the patterns to enhance the 21st-century learning of students in schools under Loei Primary Educational Service Area Office 2, the experiment period is 4 months. The Head development activities include: (1) English learning (2) Word learning (3) Forward and reverse multiplication skill activity, and (4) My media for learning. The 3 Heart development activities include: (1) Keep the school clean (2) Wisdom enhancement activity (3) Merit Activity. The 3 Hand development activities are: (1) Little painter activity (2) Follow the father’s sufficiency philosophy and (3) Herbs against disease, where the students grow herbs and learn their qualities. The 3 Health development activities are: (1) Healthy teeth, beautiful smile (2) Exercise for health, and (3) Local games. The 4H activities include: (1) Vase made of fabric and sales, (2) Moral project and (3) Dream to success.


                According to the output and outcome evaluation of the development of the 21st-century learning, the result is positive for the students in 5 dimensions due to learning through activities. In addition, teacher, parents, and students are satisfied with the practical activities.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ