การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

บัณฑิตพงศ์ ท้าวทุมมา
ยงยุทธ ยะบุญธง
ธารณ์ ทองงอก

Abstract

              การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายใน ของโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายใน ของโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี และ 3) เพื่อจัดทำและตรวจสอบคู่มือการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีขั้นตอนการศึกษา 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาปัญหาการจัดระบบสารสนเทศ กลุ่มเป้าหมายมาจากการเลือกแบบเจาะจง รวมทั้งสิ้น 38 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี กลุ่มเป้าหมายเป็นสถานศึกษาที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 1 คน รวม 3 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปอุปนัยขั้นตอนที่ 3 การจัดทำคู่มือการจัดระบบสารสนเทศ กลุ่มเป้าหมายมาจากการเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน จำนวน 17 คน วิธีการและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบบันทึก และวาระการประชุม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปผลการประชุมและการรับรองผลจากที่ประชุม ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบคู่มือการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายมาจากเลือกแบบเจาะจงจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบตรวจสอบคู่มือการจัดระบบสารสนเทศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


               ผลการศึกษาปัญหาการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาที่สำคัญ คือ 1) ผู้รับผิดชอบขาดความเข้าใจและไม่ชัดเจนในเรื่องการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2) การกำหนดบุคคลผู้รับผิดชอบที่ไม่ชัดเจน 3) การประมวลผลยังไม่เป็นระบบที่สามารถนำข้อมูลมาเชื่อมโยงทั้งระบบ 4) การนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศต่อผู้ที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนค่อนข้างน้อย 5) การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศยังไม่เป็นระเบียบและไม่เป็นหมวดหมู่ ผลการศึกษาการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี พบว่า ครูและบุคลากรทุกคนต้องมีส่วนร่วมช่วยกันวิเคราะห์มาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ โดยจัดการประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ และการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศในแต่ละมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และผลการจัดทำคู่มือการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) วัตถุประสงค์ 2) ขอบเขต 3) คำจำกัดความ 4) หน้าที่ความรับผิดชอบ 5) ระเบียบปฏิบัติ 6) เอกสารอ้างอิง 7) แบบฟอร์มที่ใช้ 8) เอกสารบันทึก ผลการตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของคู่มือการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง จังหวัดเชียงใหม่พบว่า ทุกองค์ประกอบของคู่มือโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้


 


             There are three purposes of this independent study: 1) to study the problems of information system management for the internal quality assurance of Chongfah Sinseung Wanish Bamrung School, Chiang Mai Province. 2) to study the information system management for the internal quality assurance of schools with good practice, and 3) to make and examine the manual of information system management for the internal quality assurance of Chongfah Sinseung Wanish Bamrung School, Chiang Mai Province. There are four steps of the study: Step 1, studying the problem of information system management. The target group was a total of 38 people from a specific selection. The instruments used were questionnaire, data analysis by frequency, percentage, mean and standard deviation. Step 2, studying the information system management for the internal quality assurance of schools with good practice. The target group is the school that has been specially selected by one informant per one school, a total of 3 informants. The tools used are structured interviews, data analysis by inductive summary. Step 3, making the manual of information system management .The target group came from a specific selection of school administrators and 17 people involved in school quality assurance. Workshop was used to be a way to collect data. The data was analyzed by summarizing and certifying the results from the meeting. Step 4: Examining the information system management manual for internal quality assurance of Chongfah Sinseung Wanish Bamrung School, Chiang Mai Province. The target group was 5 persons from a specific selection. The tool used was the checklist of the information system management manual. Data were analyzed by using mean and standard deviation.


               The results of the study found that the overall level of the information system management problems for internal quality assurance of Chongfah Sinseung Wanish Bamrung School, Chiang Mai Province, is moderate. The major problems are: 1) The person in charge lack of understanding and unclear about information system management for the internal quality assurance of schools. 2) An unclear attribution of person in charge. 3) Processing is not an information system that can link the whole system. 4) Presentation of data and information to relevant persons and the public is relatively less. 5) Data and information storage is not organized and classified. The results of the study on the information system management for the internal quality assurance of schools with good practice found that all teachers and staff had to participate in analyzing educational standards and indicators by organizing meetings to build knowledge and understanding on data collection, data validation, data processing, data and information presentation and information storage in each basic educational standard for internal quality assurance of school. And The results of the making of the information system management manual for the internal quality assurance of Chongfah Sinseung Wanish Bamrung School, Chiang Mai Province, found that consist of 1) objectives 2) scope 3) definitions 4) responsibilities 5) procedures 6) references document 7) forms 8) records. The examinations of accuracy, appropriateness and possibility of the information system management manual for internal quality assurance of Chongfah Sinseung Wanish Bamrung School, Chiang Mai province, found that all components of the overall manual were at the highest level over the set criteria.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ