ซินเนคติกส์: รูปแบบการสอนที่ส่งเสริมนวัตกรรมและกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่21

Main Article Content

อติยศ สรรคบุรานุรักษ์
ธนาเทพ พรหมสุข

Abstract

                  รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ หรือซินเนคติกส์ (Synectics) เป็นทฤษฎีทางวิธีการมุ่งที่จะรวมบุคคลที่มีความแตกต่างกัน ทั้งบุคลิกภาพและความคิด เพื่อร่วมกันกำหนดปัญหาและแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นทฤษฎีเชิงปฏิบัติการ ที่นำกลไกทางจิตวิทยาที่ซ่อนเร้นทางความคิด (Preconcious  thought) มาใช้ในทางความคิดสร้างสรรค์ จุดมุ่งหมายเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาการเรียนการสอนในทุกระดับชั้นและเพื่อการพัฒนาความสำเร็จในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และรวมถึงไปการพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ผลงาน ซินเนคติกส์คือแนวทางการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สำหรับผู้เรียนใช้การเปรียบเทียบเพื่อฝึกฝน ให้เกิดความคิดจินตนาการสร้างสรรค์ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีโอกาสในการพิจารณา การมองปัญหาในมุมที่แตกต่างออกไปจากเดิมและมีความชัดเจนยิ่งขึ้น รูปแบบการสอนที่เน้นการส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์จึงต้องแตกต่างไปจากเดิม  และเทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนจึงเพิ่มความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ที่มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการอุปมาโดยตรง การอุปมาตนเอง การอุปมาสัญลักษณ์ และการอุปมาแบบเพ้อฝันเป็นแนวทางในการสอนเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนอันเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่21 ได้อีกวิธีการหนึ่ง


 


                SYNECTICS is a theory that included different people both personality and thoughts to determine the problem together and solve that problem in creative ways as operational theory which would bring Preconscious thought out and use in creative ways, The purpose of this theory is to be guidelines of instructional development in all level and to improve success of effective problem-solving. It is consistent with the 21st century necessary skills, including creative thinking on task. Synectics is a teaching method that improve learners’ creativity to compare, practice their creativity. This method could encourage learners having chance to make decision, see the problems in differently and distinctly. The model focusing on innovation and creativity encouragement should be different and teaching techniques should be more complex. Hence, Synectics learning model, teaching with direct analogy, personal analogy, symbolic analogy, and fantasy analogy, could encourage learners to have more innovation and creativity which is necessary 21st century skills.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ