สถานการณ์และความต้องการแหล่งเรียนรู้ชุมชนด้านการบริโภคในกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน

Main Article Content

วิมลรัตน์ รุกขวรกุล
อัมพวัลย์ วิศวธีรานนท์
กัมปนาท บริบูรณ์
ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล

Abstract

               บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยในระยะต้น จากหัวข้อวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบแหล่งเรียนรู้ชุมชนด้านการบริโภคในกรุงเทพมหานครเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสถานการณ์ความรู้ด้านการบริโภค และความต้องการแหล่งเรียนรู้ชุมชนด้านการบริโภคในกรุงเทพมหานคร เพื่อนำไปสู่การพัฒนารูปแบบแหล่งเรียนรู้ชุมชนด้านการบริโภคในกรุงเทพมหานคร การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ความรู้ด้านการบริโภคในปัจจุบัน และขั้นตอนที่ 2 ศึกษาความต้องการแหล่งเรียนรู้ชุมชนด้านการบริโภคในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา ประกอบด้วย คณะกรรมการและสมาชิกสมาพันธ์ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคกรุงเทพมหานคร จาก 50 เขตในกรุงเทพมหานคร โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เฉพาะผู้ที่ได้เข้าร่วมดำเนินโครงการเผยแพร่ความรู้ด้านการบริโภคแล้ว เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนสภาพและความต้องการแหล่งเรียนรู้ด้านการบริโภคอย่างแท้จริง จำนวน 50 เขต เขตละ 5 คน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 250 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางสถิติประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์จากเอกสาร ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ของชุมชน มี 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ขาดการบริหารและการจัดการความรู้ที่เหมาะสม และ (2) ขาดแคลนแหล่งการเรียนรู้ด้านการบริโภค 2) ความต้องการแหล่งเรียนรู้ชุมชนด้านการบริโภคในกรุงเทพมหานคร พบว่า  กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการแหล่งเรียนรู้ชุมชนด้านการบริโภคในกรุงเทพมหานคร ในด้านความจำเป็นต่อการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคในระดับชุมชน ความเป็นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคใน ระยะยาว การเสริมสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถปกป้องดูแลสิทธิผู้บริโภคของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในระดับมากที่สุด


               ผลการศึกษาของงานวิจัยนี้ จะนำไปสู่การเสนอต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาการจัดการความรู้ด้านการบริโภคที่เหมาะสมกับประชาชนไทย และตรงต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง


 


             This article is part of research in the early step of research on the topic ‘The development of Community Learning Center Model against Consumption in Bangkok for enhancing Lifelong Learning’. The objectives of this research are to study the currently situation on consumption knowledge and the requirements of the community learning center against consumption in Bangkok; which will be brought to develop the model of community learning center against consumption in Bangkok. The study consisted of two phases: 1) study the currently condition on consumption knowledge and 2) study the requirements of the community learning center against consumption in Bangkok. The representative samples are composed of the committees and members of Consumer Protection Club Confederation Bangkok from 50 districts in Bangkok, do the purposive sampling only the committees or members who attended in the Consumption Knowledge Dissemination Project in amount of 5 persons from each district, totally 250 persons, to focus and reflect on the real problem and the actually requirement on the community learning center against consumption in Bangkok. The instruments in the research consisted of the questionnaires and statistical methods are frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis. The results of the analysis can reflect as follow; 1) the currently situation in the area of community learning center in 2 main issues such as (1) the deficient of suitable knowledge management and (2) the deficient of learning center against consumption. 2) the requirement on community learning center against consumption in Bangkok found that the sampling need the community learning center in the level ‘highest’ of the rank as the results as follow; to develop consumer protection scheme in community, to be useful for holding consumer protection activities in long-term period and to support strengthening of community and efficiency protect their consumer rights.


               The results of this research will be presented to the relevant government agencies to develop the management on consumption appropriate to Thai citizen and meet the needs of people.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ