การศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเพื่อลดความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาชุมชนหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กนกอร ทองกลึง

Abstract

               การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกรอบๆที่พักอาศัยรวมถึงการทำกิจกรรมและพฤติกรรมการในการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการหกล้มของผู้สูงอายุในพื้นที่ชุมชนหัวตะเข้ ลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร การเก็บข้อมูลในการศึกษาใช้แบบสอบถาม จำนวน 167 คน และแบบสำรวจ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกร่วมกับการสังเกตการณ์ โดยวิเคราะห์ผลเชิงปริมาณจำนวน 167 คน และเชิงคุณภาพ 5 กรณีศึกษา


               ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 103 คน (61.68%) และเพศชาย จำนวน 64 คน(38.32%) ช่วงอายุ 60-65 ปี จำนวน 78 คน (46.71%) กลุ่มตัวอย่างที่เคยหกล้มจำนวน 77 คน สาเหตุการหกล้มขณะก้าวขึ้นหรือลงพื้นต่างระดับ จำนวน 20 คน (25.97%) สถานที่หกล้มภายนอกบ้านบริเวณทางเดิน มีปัญหาด้านร่างกายมี โรคประจำตัวความดันโลหิตสูงพบมากที่สุด ปัญหาทางด้านสายตา การรับประทานยาและการเดิน การทรงตัว ลักษณะสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัย เป็นบ้านไม้ 2 ชั้น ราวบันไดเป็นปัจจัยเสี่ยงกับการหกล้ม ในส่วนพื้นที่ทำกิจกรรมของผู้สูงอายุจะอาศัยอยู่ชั้นล่างของบ้านจำนวน 140 คน กิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวัน การนั่งเล่น/นอนเล่นในช่วงเวลาเย็น โดยทำกิจกรรมบริเวณพื้นที่นั่งเล่นภายในบ้าน จากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุในพื้นที่ เพื่อเป็นแนวทางเสนอปัจจัยที่ลดความเสี่ยงในการหกล้ม ซึ่งวัสดุทางเลือกที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เพื่อนำไปปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ


 


               The research aiming to study the internal and external physical factors of residential area as well as activities and daily living behavior to find the factors that affect the falling down of older residents in Hua Takhe community, Lat Krabang, Bangkok. The data are collected by using questionnaire of 167 older residents and survey as well as in-depth interview and observations. This research is conducted in quantitative of 167 older residents and qualitative 5 cases approach.                                                                                 


               The study shows that, the older are: 103 persons (female) (61.68%) and 64 persons (male) (38.32%), with the age of 60-65 years old of 78 persons. The sample groups of 77 persons tend to fall down while stepping on different level area, and among the elderly, 20 persons (25.79%) tend to fall down outside the house on the footpath. The congenital disease mostly found is high blood pressure, eye sight problem, medicine taking and walking, balancing. The environment of residential area is a two-story wooden house and the activities area for older (140 persons) is on first floor. Daily activities include sitting/resting in the evening and these are done indoor. The results of this study can be benefit for older in the area, in the aspect of guideline for reducing risk factors of falling by using the alternative materials that can be found locally, in order to adjust the residential environment that matches the lifestyle of older.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ