วิถีชีวิตท่ามกลางเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ที่ปรากฏในศิลปะร่วมสมัยไทย

Main Article Content

ชุติมา พรหมเดชะ

Abstract

               ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา วิถีมุสลิมได้เข้ามามีส่วนร่วมในวงการศิลปะร่วมสมัยไทย เป็นชุดความสำเร็จที่เกิดขึ้นและเติบโตอย่างรวดเร็ว การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการสร้างสรรค์ จำแนกรูปแบบในการนำเสนอ และจำแนกประเภทเนื้อหาของผลงานศิลปะ เพื่อสร้างความเข้าใจในพื้นฐานทางความคิดรวมถึงการนำเสนอของศิลปิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เกิดความไม่สงบนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จากเหตุการณ์ปล้นปืนครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 4 มกราคม ณ กองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เป็นต้นมา


               การปรากฏผลงานศิลปะวิถีมุสลิม ในศิลปะร่วมสมัยไทย เมื่อพิจารณาแล้วพบว่า เนื้อหาในการนำเสนออาจแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 1. ปรัชญาศาสนา 2. เพศสถานะ 3. เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4. วิถีชีวิต จากการศึกษาพบว่าเนื้อหาแท้จริงที่ศิลปินต้องการนำเสนอนั้นล้วนผสมผสาน ไม่สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ชัดเจน โดยมากมักเป็นการผสานเนื้อหา 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. การผสานระหว่างปรัชญาศาสนา และเพศสถานะ 2. การผสานระหว่างเพศสถานะ และเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3. การผสานระหว่างเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และวิถีชีวิต 4. การผสานระหว่างวิถีชีวิต และปรัชญาศาสนา


               บทความชิ้นนี้ศึกษาผลงานสร้างสรรค์ของศิลปินไทยร่วมสมัยจำนวน 3 ท่าน ได้แก่ เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ นุรัตนา หะแว และ ปรัชญ์ พิมานแมน ซึ่งผลงานจัดอยู่ในกลุ่มที่ 3 อันว่าด้วย วิถีชีวิตท่ามกลางเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้วพบว่า 1. ศิลปินมีแรงจูงใจภายใน เป็นแรงผลักดันสำคัญนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงาน 2. ภายใต้รูปแบบการนำเสนอทั้งสิ้น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การนำเสนอรูปแบบเหมือนจริง 2) การนำเสนอรูปแบบกึ่งนามธรรม 3) การนำเสนอรูปแบบนามธรรม ศิลปิน 3 ท่านในบทความนี้นำเสนอรูปแบบที่ 1 และ 2 คือ รูปแบบกึ่งนามธรรมและรูปแบบนามธรรมเป็นหลัก 3. ผลงานสร้างสรรค์ของศิลปินถูกนำเสนอผ่านเนื้อหาทั้ง 2 ประเภท ได้แก่ มุมมองส่วนบุคคลของศิลปิน และมุมมองจากสังคม


 


                In the past 10 years, the Muslim way has taken a role in Thai contemporary art scene. It is a success that has occurred and grown rapidly. This study aims to learn the inspiration for the Muslim way in Thai contemporary art scene, including the creation, representation and the contents of the art, to create an understanding about fundamental of the ideas of the artists and their representations.


               Considering the Muslim way in Thai contemporary art, the contents of the art can be categorized into 4 groups: 1. religious philosophy 2. gender 3. The insurgency in the three provinces nearby the southern border of Thailand 4. way of life.


               According to the research, it is found that the contents that the artists intend to represent are a combination of two groups of content, namely: 1. integration between religious philosophy and sexuality 2. integration between sexuality and insurgency in the three provinces nearby the southern border of Thailand 3. integration between insurgency in the three provinces nearby the southern border of Thailand and way of life 4. integration between way of life and religious philosophy.


               This article studies about the work of art by 3 Thai contemporary artists: Jehabdulloh Jehsorhoh, Nuratna Hawae, and Prach Pimarnman, whose works are all focused on life and insurgency in the three provinces. From the study, it is found that: 1. the artists have intrinsic motivations which are important inspirations on their works 2. From 3 formats of representation; 1. Realistic 2. Semi-Abstract and 3. Abstract, the works of the artists consist of 2 formats only, depending on the specializations and the purposes of the artists, 2 semi-abstract works and 1 abstract work 3. the works of the artists are represented through the 2 ways, which are the personal viewpoint of the artist and through social point of view.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ