การประเมินศักยภาพการเป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียวในพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตสัมพันธ์วงศ์

Main Article Content

ธนพร สีนาคล้วน
ณัฐวุฒิ ปรียวนิตย์

Abstract

                  การศึกษาวิจัยเรื่อง การประเมินศักยภาพการเป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียวในพื้นที่เขตพระนครเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตสัมพันธ์วงศ์ เป็นการศึกษาว่าจะได้พื้นที่สาธารณะสีเขียวมาได้อย่างไร และควรพัฒนาในรูปแบบใด โดยใช้วิธีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกรณีศึกษาจากต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และศึกษาข้อมูลพื้นที่ศึกษา ข้อมูลพื้นที่สีเขียวที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ศึกษา ประเมินพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียว ศึกษาข้อมูลพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียว วิเคราะห์พื้นที่ และสอบถามความคิดเห็นจากผู้ใช้พื้นที่และผู้อยู่อาศัยโดยรอบพื้นที่ โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า รูปแบบของพื้นที่สาธารณะสีเขียวมี 8 รูปแบบ ได้แก่ 1. ทางเดินธรรมชาติ 2. การอนุรักษ์สภาพธรรมชาติดั้งเดิม 3. การทำเกษตรในเมือง 4. สวนสาธารณะในห้าง 5. พื้นที่สุสาน 6. สวนสาธารณะในพื้นที่ทิ้งร้าง 7. พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม พื้นที่ว่าง และ 8. อาคารเขียว สำหรับพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียว ในพื้นที่ศึกษา แบ่งได้เป็น 6 ประเภท ได้แก่ 1. พื้นที่ถนน 2. พื้นที่ริมน้ำ  3. พื้นที่บริเวณสะพาน 4. พื้นที่ทิ้งร้าง 5. พื้นที่ชุมชน และ 6. พื้นที่บนดาดฟ้าอาคาร ซึ่งพื้นที่ทั้ง 6 ประเภท มีรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาพื้นที่แตกต่างกัน ตามแต่ละประเภทของพื้นที่ โดยการใช้ประโยชน์ใน  แต่ละพื้นที่ดังกล่าว ยังมีข้อกังวลในการพัฒนาพื้นที่ในหลายๆด้าน แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของพื้นที่ โดยเฉพาะประเภทพื้นที่ที่ 4. พื้นที่ทิ้งร้าง ในพื้นที่ของวัดที่ใช้ประโยชน์เป็นลานจอดรถ เมื่อมีการพัฒนาพื้นที่แล้ว อาจก่อให้เกิดเสียงดัง และการแต่งกายที่ไม่เหมาะสม และประเภทพื้นที่ที่ 6. พื้นที่บนดาดฟ้าอาคาร ต้องพิจารณาโครงสร้างอาคาร อายุของอาคาร และต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อาคาร นอกจากนี้การพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวทั้ง 6 ประเภท อาจก่อให้เกิดเป็นแหล่งมั่วสุม เกิดอาชญากรรม ความไม่ปลอดภัยในพื้นที่ ปัญหาขยะ และขาดการดูแลพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น โดยความเห็นของประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมาก ยังมีความต้องการพื้นที่สาธารณะสีเขียวเพิ่มขึ้น ดังนั้นหน่วยงานหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรที่จะให้ความสำคัญ ส่งเสริมและสนับสนุน ให้เกิดการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียว เนื่องจากยังขาดแคลนพื้นที่ เมื่อเกิดการพัฒนาพื้นที่จะทำให้มีพื้นที่สาธารณะสีเขียวเพิ่มขึ้นในเมืองและเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป


 


                        The subject of research study is about the assessing the potential of green public spaces in Phranakhon Area, Pom Prap Sattru Phai District and Samphanthawong District. The research aims to study on how to retrieve the green public area and which design shall be appropriately developed. This research uses the concept study, theory and a case study from abroad in relation to the information in the related field-study area. The existing green area study information, which assessing the potential areas are developed to be the green public areas. All formation's study of potential spaces is developed to be the green public areas. Doing analysis and in-depth interview to get feedback from all around the area users and residents. By using the questionnaire, all the study results found that the green public spaces format have 8 format designs, these are; 1. Natural Path 2. Preservation of the original nature 3. Urban Farming 4. Public garden in the mall 5. Graveyard area 6. Parks in the wilderness area 7. Development in the industrial empty area and 8. Green Building. According to the study in the potential area become to the green public area, there are 6 types such as; 1. Road area 2. Riverside area 3. Bridge area 4. Deserted area 5.Community area and 6. Spaces on the roof-deck.All the 6 area types have individual format designs and development approach, specific to each type of area. The usage in each of these areas are also concerning with many other areas, there are different factors in concerning with each area especially the area type 4, the deserted spaces within temple area using to be parking lots. For developing an area, it may cause a loud noise and inappropriate dress. Also, the area type 6 or the spaces of the building roof-deck, it must consider building structure, building age, and also shall consider the privacy of building occupants. In addition to the above, the development of all 6 types of green public spaces may become a place of debauchery, a crime area, an unsafe area, waste problem and lack of continuous space care etc. By the opinion of the people, most respondents need more green public area. Therefore, the agencies or people involved should importance promote and encourage the development of green public spaces due to shortage of space. When developing the area, there will be more green public space in the city and also it is beneficial to further develop other areas.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ