การพัฒนารูปแบบการวางแผนและการจัดทำงบประมาณ ในลักษณะ บูรณาการที่รองรับการปฏิบัติงานตามนโยบายรัฐบาล (The development of pattern in planning and budgeting integration in order to comply with the government's policy)

Main Article Content

พรชัย เทพปัญญา (Pronchai Dhebpanya)

Abstract

โครงการพัฒนารูปแบบการวางแผนและจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการที่รองรับการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนและจัดทำงบประมาณที่มีความชัดเจนในลักษณะบูรณาการตามมิตินโยบายและยุทธศาสตร์ มิติของกระทรวง/กรม และมิติของจังหวัดและท้องถิ่น ที่สามารถสนองตอบการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล ในบริบทการ จัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสำนักงบประมาณ โดยใช้พืชพลังงานมันสำปะหลัง และจังหวัดสระแก้วเป็นตัวแบบ ด้วยแนวคิดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตั้งแต่ภารกิจต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ  โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก  ผลการวิจัยค้นพบว่า ให้ใช้จังหวัดเป็นศูนย์กลางการบูรณาการยุทธศาสตร์และแผนจังหวัดเพื่อการจัดสรรงบประมาณเพื่อให้เป็นไปตามมิตินโยบายรัฐบาล กระทรวง/กรม (Function) และจังหวัด/ท้องถิ่น (Areas)  โดยกำหนดไว้ในแผนพัฒนา 3 แผน คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และแผนพัฒนาท้องถิ่น  เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน ให้จังหวัดไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด มีบทบาท/อำนาจหน้าที่แบบ Chief Executive Officer: CEO  และปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างสำนักงบประมาณ โดยจัดตั้งสำนักงานงบประมาณส่วนจังหวัด มีอำนาจหน้าที่เพื่อรองรับการบูรณาการให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล กระทรวง/กรม  ยุทธศาสตร์และแผนจังหวัด และพัฒนาข้าราชการของสำนักงบประมาณส่วนจังหวัด และของกระทรวง/กรมที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจในบทบาทและขอบเขตอำนาจหน้าที่ เพื่อประสานความร่วมมือในการบริหารงบประมาณให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์กระทรวง/กรม และแผนจังหวัด/แผนท้องถิ่น ด้านการผลิตและผลลัพธ์การผลิต  ตลอดจนจัดตั้งสำนักงานรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำงบประมาณ  สำนักงานนี้กำกับดูแลโดยผู้ว่าราชการจังหวัด และสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี 


 


                 The research aims to develop a clear pattern of planning and budgeting integration in terms of policy and strategy aspect, ministry/function aspect as well as provincial and local aspect leading to operations in compliance with the government's policy. It is in the context of resulted-oriented budgeting according to the strategy of Bureau of the Budget. By using an energy crop, Cassava, and Srakeaw province as a model with Value Chain concept from the upstream, midstream and downstream missions in qualitative research approach, the result suggests to exercise provincial office as the center of strategy and provincial plan integration to allocate budget according to the policy of government, ministry/function and province/areas which should be stated in 3 development plans namely National Economic and Social Development Plan, Provincial Development Plan and Union as well as the Local Development Plan. To reduce operating duplication, it is advisable to re-construct provincial operation to be under Prime Minister's Office, enable provincial governor to have authority of Chief Executive Officer: CEO and improve the concerned laws/regulations including re-construct the Bureau of the Budget by appointing Provincial Bureau of the Budget to support the integration in response to policies of government, ministry/function, strategy and provincial plan as well as educate officers of Provincial Bureau of the Budget and concerned ministry/function to understand their roles and responsibilities in order to cooperate the budget management in compliance with the government’s policy, strategy of the ministry/function and provincial/local plan for production and outputs. It is also suggested to appoint an office of social listening and public participation regarding budgeting. The office should be supervised by provincial governor and operate under Prime Minister's Office.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ