การมีส่วนร่วมของยุวบรรณารักษ์ในการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดนครปฐม (Participation of Student Library Assistant in the Secondary Schools in Nakhon Pathom)

Main Article Content

กฤตภาส สงสุรพันธ์ (Kittapas Songsurapun)
ประภาส พาวินันท์ (Prapat Pawinun)
พิมลพรรณ เรพเพอร์ ประเสริษฐวงษ์ (Pimonpan Rapper Prasertwong)
ศศินันท์ เศรษฐวัฒน์บดี (Sasinan Settawatbhodi)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของยุวบรรณารักษ์ในการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม (2) เพื่อศึกษาทัศนคติของยุวบรรณารักษ์ที่มีต่อครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม และ (3) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของยุวบรรณารักษ์ต่อครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม จำแนกตามเพศ  ระดับชั้น เกรดเฉลี่ย และประสบการณ์การช่วยงานห้องสมุดของยุวบรรณารักษ์ โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากยุวบรรณรักษ์ห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม จำนวน 415 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม โดยใช้สถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one-way ANOVA) โดยใช้สถิติ F-test และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method)


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


               ยุวบรรณารักษ์ส่วนใหญ่ช่วยงานห้องสมุดโรงเรียนในช่วงพักกลางวัน และช่วยงาน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ ส่วนใหญ่ครูบรรณารักษ์ห้องสมุดจะมอบหมายให้ยุวบรรณารักษ์ช่วยจัดชั้นหนังสือ รองลงมา คือ การจัดโต๊ะเก้าอี้และทำความสะอาดห้องสมุด การชักชวนให้เพื่อนเข้ามาใช้ห้องสมุด การให้บริการยืม-คืนหนังสือ การจัดบอร์ดความรู้ การช่วยสำรวจหนังสือของห้องสมุด การจัดตกแต่งห้องสมุดให้สวยงาม และการส่งเสริม การอ่าน ตามลำดับ


               ยุวบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐมมีทัศนคติต่อครูบรรณารักษ์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านคุณลักษณะเฉพาะของครูบรรณารักษ์  รองลงมา คือ ด้านความรู้และทักษะการจัดห้องสมุด และด้านบทบาทการสอนของครูบรรณารักษ์  ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูบรรณารักษ์เป็นงานที่มีเกียรติและได้รับการยอมรับ รองลงมา คือ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับหนังสือและสื่ออื่น ๆ การคัดเลือกหนังสือและสื่อที่ดีเข้าห้องสมุด ความสามารถในการอ่านและการเขียน ครูบรรณารักษ์เป็นผู้ที่มีความรู้อย่างกว้างขวาง ครูบรรณารักษ์มีปฏิภาณไหวพริบแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี  การจัดทำเครื่องมือค้นหาหนังสือ (บรรณานุกรม บัตรรายการ ดรรชนีวารสาร สาระสังเขป บรรณนิทัศน์ ฯลฯ) ครูบรรณารักษ์มีความยุติธรรม คุณธรรม จริยธรรม และการจัดระบบหนังสืออย่างเป็นระเบียบ ตามลำดับ


               การทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า  ยุวบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐมที่มีเพศ เรียนในระดับชั้น และมีประสบการณ์การช่วยงานห้องสมุด ต่างกัน มีทัศนคติต่อครูบรรณารักษ์โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนยุวบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐมที่มีเกรดเฉลี่ยต่างกัน มีทัศนคติต่อครูบรรณารักษ์โดยรวมและรายด้าน คือ ด้านคุณลักษณะเฉพาะของครูบรรณารักษ์ ด้านความรู้และทักษะการจัดห้องสมุด ด้านบทบาทการสอนของครูบรรณารักษ์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 


               In this survey research investigation, the researcher examines (1) the participation of student librarians in library operations at secondary schools in Nakhon Pathom province.  The researcher also investigates (2) the attitudes of student librarians towards teacher librarians at these schools. Finally, furthermore, the researcher compares (3) the opinions of student librarians towards teacher librarians at the schools as classified by the demographical characteristics of gender, year of study, grade point average (GPA), and the degree of experience in providing assistance in these libraries.


               The researcher constituted a sample population of 415 student librarians at secondary schools in Nakhon Pathom.


               A questionnaire was used as a research tool to collect germane data from the members of the sample population.


               In data analysis, the researcher made use of a computer software program.  Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of percentage, mean, and standard deviation. In hypothesis testing, the researcher used a t test technique to test the differences between the means of two groups. Moreover, the researcher employed the one-way analysis of variance (ANOVA) technique in the form of F-test in addition to Scheffé’s multiple comparison method.


               Findings are as follows:


               The highest proportion of student librarians provided assistance in school libraries during lunch break one hour weekly.  Moreover, the highest proportion of teacher librarians assigned student librarians to carry out the task of organizing book shelves.  Next in descending order was arranging desks and chairs and cleaning the library; persuading friends to use the library; providing book lending services; arranging the details of bulletin board information; making surveys of the books held in the libraries; beautifying libraries; and promoting reading.


               The student librarians exhibited attitudes toward teacher librarians overall and in each aspect at higher levels.  The aspect with the highest mean was the specific characteristics of teacher librarians.  Next in descending order was knowledge and skills used in arranging libraries; and the teaching roles of teacher librarians.  When considered in each aspect, it was found that the item with the highest mean was the opinion that being a teacher librarian was an honorable profession and one which was socially acceptable.  Next in descending order were expertise in books and other media; selecting books and good media for the libraries; reading and writing abilities; being well-versed; being clever and resourceful; being able to deal very well with immediate problems; developing tools for searching for books (bibliography, card catalogs, journal indices, abstracts, annotations, and others); showing that they are fair, moral and ethical; and arranging book collections in an orderly manner.


               In testing research hypotheses, the researcher found that student librarians at the secondary schools in Nakhon Pathom who differed in the demographical characteristics of gender, year of study, and experience in library work at the schools did not exhibit concomitant differences in their attitudes towards teacher librarians overall and in all aspects.  However, the student librarians who differed in GPA evinced parallel differences in their attitudes towards teacher librarians overall and in the aspects of the specific characteristics of teacher librarians; knowledge and skills in library arrangement; and the teaching roles of teacher librarians at the statistically significant level of .05.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ