การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิพอเพียง ของวิสาหกิจเพื่อสังคม กรณีศึกษา สามพรานโมเดล โดยมูลนิธิสังคมสุขใจ (Studying the Approach of Sustainable Management with Sufficiency Economy Philosophy of Social Enterprise: )

Main Article Content

กิตติคุณ แสงนิล (Kittikun Sangnin)
สันติธร ภูริภักดี (Santidhorn Pooripakdee)

Abstract

               การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและแนวทางการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของวิสาหกิจเพื่อสังคม และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จของกรณีศึกษา สามพรานโมเดล โดยมูลนิธิสังคมสุขใจสามารถบรรลุความสำเร็จในแง่ของการบริหารจัดการได้อย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแนวทางต้นแบบที่ดีต่อแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยในอนาคต ในการวิจัยครั้งนี้จะใช้รูปแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในโครงการสามพรานโมเดล ประกอบกับการลงพื้นที่เพื่อการสังเกตการณ์ และการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาตรวจสอบความครบถ้วนและความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้า ทำการการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการศึกษาและนำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบการพรรณาความ  


               จากผลการศึกษาพบว่า มีแนวทางสำหรับการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน ที่ได้จากการศึกษาในกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จนี้ ซึ่งประกอบไปด้วย 10 แนวทาง ดังนี้ 1) มีวิสัยทัศน์ เป้าหมายที่ชัดเจน และมองการณ์ไกล 2) กำกับดูแลกิจการที่ดี 3) การสร้างวัฒนธรรมและปัจจัยด้านองค์กร 4) มีข้อมูลและองค์ความรู้ที่ดี 5) การบูรณการดำเนินงานทุกกิจกรรมหลักที่สำคัญ 6) การจัดการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ 7) กระบวนการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพ 8) ความร่วมมือกันจากหลายๆภาคส่วน 9) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และการสร้างความไว้ใจกัน 10) ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ผ่านการวิจัยและการพัฒนาใน สินค้า/บริการ/การตลาด อย่างต่อเนื่อง จากผลการศึกษานี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการวิสาหกิจเพื่อสังคม จำเป็นต้องให้ความสำคัญที่เกี่ยวกับ การจัดการการดำเนินงานและการจัดการโลจิสติกส์ และจำเป็นต้องมุ่งเน้นการพัฒนาและวิจัยเพื่อเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและงานบริการของตัวเองอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างองค์กรความรู้/แนวทางปฏิบัติที่ดีและการจัดการองค์ความรู้ที่ดี เพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม ที่จะแก้ปัญหาสังคมได้อย่างแท้จริง โดยต้องอาศัยการบูรณาการในการดำเนินงานจากหลายๆภาคส่วนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของวิสาหกิจเพื่อสังคม


 


               This research was qualitative research. The objectives of this research were to study the concepts and management guidelines for sustainability of social enterprise through the Sufficiency Economy Philosophy, to study the promoting factors on success of the successful case was Sampran Model organized by the foundation of Suk-Jai Society, which they could  achieve in term of sustainable business administration. This could be a good prototype for future development of social enterprises in Thailand. In this research, taking the form of an in-depth interview with experts who were knowledgeable, experienced in the Sampran project, observing real place, and studying the involved secondary data. The information obtained from the study to verify the validity and credibility of results used the methodology of triangulation, and then the process of content analysis, conclusions and discussions were presented in the descriptive form.


             The study found that there were guidelines for sustainable management obtained from the study of this successful case. It consisted of 10 approaches as follows: 1) had a clear vision. 2) good governance; 3) organizational culture and factors; 4) good information and knowledge; 5) Integration of all key activities; 6) operational Management 7) effective logistics and supply chain management. 8) collaboration across sectors. 9) participation of all sectors. 10) continuously promote innovation and creativity through research and development especially product / service / marketing. Based on this study, the researcher has suggested a guideline for the implementation of social enterprises, they should focus on operations management, logistics and supply chain management, and they might focus on developing and researching to add value to their products and services including the creation of knowledge/best practice and knowledge management. This was because of strengthening social innovation and truly solving the social problems. It required the integration of operations from multiple sectors to achieve sustainability for social enterprise.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ