การบริหารการจัดการศึกษาของสถานศึกษาต้นแบบอาเซียนศึกษาระดับประถมศึกษา จังหวัดเพชรบุรี (Educational Management of Prototype Primary Schools on ASEAN Study in Phetchaburi Province)

Main Article Content

จุฑามาศ เหลืองอร่าม (Juthamas Leuang-ararm)
กาญจนา บุญส่ง (Kanchana Boonsong)

Abstract

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาต้นแบบอาเซียนศึกษา ระดับประถมศึกษา จังหวัดเพชรบุรี และ 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษาต้นแบบอาเซียนศึกษา ระดับประถมศึกษา จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย จำนวน 1 คน ผู้บริหารโรงเรียนดอนขุนห้วย จำนวน 1 คน ครูโรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย จำนวน 6 คน และครูโรงเรียน ดอนขุนห้วย จำนวน 6 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 14  คน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


  1.     การบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาต้นแบบอาเซียนศึกษา ของโรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย   มีการบริหารจัดการด้านบุคคล การบริหารดำเนินการกิจกรรม การบริหารโดยการตั้งศูนย์อาเซียนและในโรงเรียนเครือข่าย และการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน เน้นภาษาอังกฤษ ICT พหุวัฒนธรรม ภาษาเพื่อนบ้าน และโรงเรียนดอนขุนห้วยเป็นโรงเรียนต้นแบบ (Buffer School) พบว่า ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาต้นแบบอาเซียนศึกษา โดยมีการบริหารจัดการด้านบุคคล การบริหารจัดการด้านหลักสูตรอาเซียน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นภาษาเพื่อนบ้าน การพัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรม ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนา

  2. ประสิทธิผลของสถานศึกษาต้นแบบอาเซียนศึกษาของโรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย โรงเรียนต้นแบบ (Sister School) พบว่า นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ สามารถสื่อสารภาษาตากาล็อคเบื้องต้นอย่างง่ายได้ เป็นที่ตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาและโรงเรียนเครือข่ายทั้ง 8 โรงเรียน และโรงเรียนดอนขุนห้วย โรงเรียนต้นแบบ (Buffer School) คุณภาพของนักเรียน พบว่า จากการทดสอบความรู้นักเรียนหลังเรียนผลปรากฏว่า นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากสื่อสามารถใช้ทักษะภาษาอังกฤษทั้งด้านการฟัง พูด อ่านและเขียน จากคณะวิทยากร และได้พัฒนาตนเองเป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ เพิ่มศักยภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงขึ้นจริงตามศักยภาพของ แต่ละบุคคล

            The purposes of this study were to study: 1) educational management of prototype primary schools on ASEAN study in Phetchaburi Province, and 2) effectiveness of prototype primary schools on ASEAN study in Phetchaburi Province. The 14 research samples consisted of  1 administrators from Watdon Kaitia School, 1 administrators from Don Khun Hui School, 6 teachers from Watdon Kaitia School and 6 teachers from Don Khun Hui School. The tool for data collection was a structured interview form and the data were analyzed by using content analysis. The research results were as follows:


  1. The educational management of prototype schools on ASEAN study of Watdon Kaitia School consisted of personnel management, administration of activity operation, administration by establishing ASEAN centers in the school and in network schools and using participatory management, school curriculum development focusing on ICT, multi-cultures, and neighbor languages. And, the educational management of prototype school on ASEAN study of Don Khun Hui School, a prototype buffer school, consisted of personnel management, ASEAN curriculum management, development of school curriculum focusing on ASEAN, development of school curriculum focusing on neighbor languages, and multicultural curriculum development in the aspect of development activity.

  2. The effectiveness of prototype primary schools on ASEAN study of Watdon Kaitia School, a prototype sister school, was that the students had knowledge and understanding on ASEAN community, general knowledge on 10 ASEAN countries, ability to communicate in basic Tagalog language, and that ASEAN study center and 8 network schools were established. And, the quality of students of Don Khun Hui School, a prototype buffer school, from the post-test results showed that the students could study from various media, use English language skills: listening, speaking, reading, and writing, in communication, and develop themselves according to learning standard, and that the potential and achievement on English language learning were improved according to the individual potential.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ