แรงจูงใจในการพัฒนาสมรรถนะการให้บริการของบุคลากร สำนักงานสรรพากรภาค 7 (The Motivation for Service Competency Development of Officers in Regional Revenue Office 7 )

Main Article Content

ชนะนิตา บุญญติพงษ์ (Chananita Boonyatipong)

Abstract

              การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับของแรงจูงใจในการให้บริการของบุคลากรของสำนักงานสรรพากรภาค 7 (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการพัฒนาสมรรถนะการให้บริการของบุคลากร สำนักงานสรรพากรภาค 7 และ (3) เพื่อศึกษาหาแนวทางที่จะช่วยพัฒนาสมรรถนะบุคลากร สำนักงานสรรพากรภาค 7 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการสำนักงานสรรพากรพื้นที่ทั้ง 8 พื้นที่ของสำนักงานสรรพากรภาค 7 จำนวน 271 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น ( Nonprobability sampling ) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ (Frequencies)              ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐานทั้งหมดใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) 


               ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยจูงใจสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองในการให้บริการของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.63) ปัจจัยค้ำจุนสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองในการให้บริการของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับปานกลาง(ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.29)  แรงจูงใจในการพัฒนาสมรรถนะการให้บริการของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50) ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการพัฒนาสมรรถนะการให้บริการของบุคลากร สำนักงานสรรพากรภาค 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05  มี 4 ปัจจัย ได้แก่  (1) ปัจจัยด้านการได้รับการยอมรับ (0.168) (2) ปัจจัยด้านความรับผิดชอบ(0.241) (3) ปัจจัยด้านโอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคต(0.167) (4) ปัจจัยด้านความมั่นคงในงาน(0.128)


               แนวทางที่ได้จากการศึกษา ผู้วิจัยเห็นว่าปัจจัยทั้ง 4 นั้นมีความสำคัญต่อแรงจูงใจในการพัฒนาสมรรถนะการให้บริการของสำนักงานสรรพากรภาค 7 และปัจจัยทั้ง4 ข้างต้นมีความเกี่ยวข้องกัน ผู้วิจัยจึงนำมาเชื่อมโยงกันนำเสนอเป็นโครงการ 4 เล่า ได้แก่ (1) โครงการเล่าให้เหมาะ (2)โครงการฟังเสียงเล่า (3)โครงการเชิญมาเล่า (4) โครงการอยู่ให้เล่า สามารถนำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลในการวางแผน ปรับปรุง และพัฒนาบุคลากรของสำนักงาน สรรพากรภาค 7 ให้มีสมรรถนะในการให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ และสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาองค์กรในส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาสมรรถนะการให้บริการของบุคลากร


 


                The objectives of this study were to: (1) investigate the motivational levels of the 7th Revenue Department’s personnel ;(2) examine the factors that created the motivation for developing the services of 7th Revenue Department’s personnel ;(3) explore the methods for developing the better services of 7th Revenue Department’s personnel by using the quantitative research methodology. The samples were selected from the government officers from 8 places of the 7th Revenue Departments. The researcher used the questionnaires as the research instrument to collect the data by not using the nonprobability sampling method and using the accidental sampling. The statistic for analyzing data are Frequencies, Percentage, Arithmetic Mean, Standard Deviation, and Multiple Regression Analysis.


               The finding indicated that motivation factor of self-development for giving services of the respondents was high, an average of 3.63. Also, the average of a medium maintenance motivation factor of self-development for giving services of the respondents was 3.29. Besides, the average motivation factor of service-development of the respondents was 3.50. Significantly, 4 motivation factors of the 7th Revenue Department personnel’ service-development were statistically significant at 0.05 as follows: (1) Recognition Factors (0.168) (2) Responsibility Factors (0.241) (3) Future Advances Factors (0.167) (4) Job Security Factors (0.128).


               The suggestion of the study, the researcher noticed that 4 factors are essential for the motivation of developing 7th Revenue Department services. Also, 4 factors are related together. Researcher is relating them to present 4 narrating project such as, (1) Appropriated Narrating Project (2) Perceived The Voice Of Narrating Project (3) Inviting For Narrating Project (4) Being Here For Narrating Project.The results of the research can be used as data for the planning and improvement of the personnel of the Regional Revenue Office 7 to be able to provide quality service. And research results can be used to develop the organization in relevant areas to develop service capabilities of personnel

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ