การปรับพฤติกรรมการอยู่ไม่นิ่งของเด็กสมาธิสั้นอายุ 5–6 ปี โดยกิจกรรมการประยุกต์ใช้หุ่นสายเสมา โรงเรียนอนุบาลเจริญพงศ์ กรุงเทพมหานคร (Tltle Behavior Modification for Children with ADHD Aged Five to six years with Semathai Marionettes at Charoenpong Kinderg Tltle Behavior Modification for Children with ADHD Aged Five to six years with Semathai Marionettes at Charoenpong Kindergarten Bangkok

Main Article Content

ธนานิษฐ์ วีระศักดิ์อรุณ (Tananit Wirasakarun)
ระวิวรรณ วรรณวิไชย (Rawiwan Wanwichai)

Abstract

              วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกิจกรรมการประยุกต์ใช้หุ่นสายเสมาเพื่อปรับพฤติกรรมการอยู่ไม่นิ่งของเด็กสมาธิสั้น โรงเรียนอนุบาลเจริญพงศ์ กรุงเทพมหานคร  โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 4 คน โดยได้รับการรับรองจากแพทย์ว่าเป็นโรคสมาธิสั้น และใช้แบบแผนการทดลองแบบ The One Group Pretest – Posttest Design ผลการศึกษาพบว่า การสร้างกิจกรรมการประยุกต์ใช้หุ่นสายเสมา เพื่อช่วยปรับพฤติกรรมการอยู่ไม่นิ่งของเด็กสมาธิสั้น โดยกิจกรรมนี้มีกระบวนสร้างสรรค์และการประดิษฐ์หุ่นสายเสมาตามทฤษฎีแรงจูงใจของเฮอร์ซเบอร์ก ปัจจัยองค์ประกอบจูงใจ (Motivation Factors) ความสำเร็จในการทำงาน การที่บุคคลสามารถทำงานได้เสร็จสิ้นประสบผลสำเร็จอย่างดี สามารถแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับงาน แรงจูงใจจะเป็นแรงสามารถทำงานสำเร็จได้


               การปรับพฤติกรรมให้นิ่งของเด็กสมาธิสั้นต้องอาศัยแรงจูงใจในการดำเนินกิจกรรม ชุดกิจกรรมการประยุกต์ใช้หุ่นสายเสมาจำนวน 4 สัปดาห์ๆ ละ 3 ครั้ง เป็นจำนวนทั้งสิ้น 12 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที ด้วยทฤษฎีแรงจูงใจ ของเฮอร์ซเบอร์ก เพราะเด็กสมาธิสั้นมีความสนใจที่แตกต่างจากเด็กปกติ ฉะนั้นแรงจูงใจเป็นสิ่งสำคัญในการกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กสมาธิสั้น เพื่อนำไปสู่กระบวนการปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น และผลการทดลองพบว่าเด็กสมาธิสั้นมีคะแนนการปรับพฤติกรรมในระยะหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 


                  This is the part of research Title of Behavior Modification for Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) by Semathai Marionette activities. The objective was to create applied activities  using Semathai Marionettes in order to modify the behavior of children with ADHD at Charoenpong Kindergarten in Bangkok. The research focus group consisted of four students who were diagnosed with ADHD, which was confirmed by the psychologist. The researcher used the One Group Pretest – Posttest Design with motivational theory by Herzberg. The reason for using this theory is that the focus group may have different preferences than normal students in order to modify their behavior. The findings of this study are as follows: The applied activities with Semathai Marionettes helped to modify the behavior of children with ADHD by using the creative process of marionette crafting, which follows the motivational theory of Herzberg, motivation factors, and achievement in work. For those who are able to finish work successfully, are able to solve problems at work and motivation works as a positive force. The behavior modification of ADHD might need motivation at factors in order to go with the activities. The applied activities using Semathai Marionettes look place over four weeks (three times per week at forty minutes per session for a total of twelve sessions) ;The results of using adaptive activities with Semathai Marionettes to modify the behavior of ADHD students was increased, with a statistical significance of 0.05.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ