การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา (The Development of Learning Model Based on Constructivismto Enhance Mathematical Abilities for Students in Primary)

Main Article Content

บริสุทธิ์ธรรม พิมพ์ศิริ (Borisudtum Pimsiri)
สุเทพ อ่วมเจริญ (Sutep Uamcharoen)

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา  2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และ 3) เพื่อขยายผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยกำหนดรูปแบบการทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง  และทดสอบระหว่างการทดลอง 3 ระยะ  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนอนุบาลสามเสนฯ จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism  เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา (JOICE Model) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา  มีชื่อว่า  “JOICE Model” ประกอบด้วย  5 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์  แนวคิดและทฤษฎี กระบวนการจัดการเรียนรู้  และการวัดและประเมินผล  โดยผลการทดสอบค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ E1/E2  เท่ากับ 80.13/82.63  ตามเกณฑ์ 80/80  หลังการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความสามารถทางคณิตศาสตร์ ได้แก่1) ความสามารถด้านมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์2) ความสามารถด้านการคิดคำนวณ 3) ความสามารถด้านการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  4) ความสามารถด้านการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาหลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 


                   The purposes of this research were 1) to develop and determine the efficiency of a learning model based on constructivism to enhance mathematical abilities for students in primary 2) evaluate the effectiveness of a learning model based on constructivism to enhance mathematical abilities for students in primary 3) disseminate a learning model based on constructivism to enhance mathematical abilities for students in primary. That were researching and development using one-group pretest – posttest design and 3 times progressive tests. The sample group is 40 students in grade 5/2 of Anubansamsen School in the 2016 academic year, that were selected by simple random sampling. The research instruments were a model based on constructivism to enhance mathematical abilities for student in primary (JOICE Model), a manual of model, lesson plans, mathematical tests, interview form and questionnaire form. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation dependent t-test and content analysis. The research results were as follows: The learning model based on constructivism to enhance mathematical abilities for students in primary called “JOICE Model” was consisted of the principle, objective, theory, learning process and evaluation. The research results of the evaluation of experiential learning model were: The mathematical abilities include 1)mathematical conceptual 2)calculation 3)mathematical problem solving 4)mathematical reasonable for students in primary after using JOICE model was higher than before using model and statistically significant at the .05 level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ