ผลกระทบและแนวทางแก้ไขปัญหาจากการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักศึกษาหญิงในมหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่ (Impacts and Solutions from Alcoholic Beverages Accessibility of Female Students of a University in Chiang Mai Province)

Main Article Content

เผ่าไทย สินอำพล (Phaothai Sinampol)
นฤภัค จันทิมา (Naruepak Jantima)

Abstract

                    การเปลี่ยนผ่านสังคมจากสังคมในรั้วโรงเรียนสู่สังคมในรั้วมหาวิทยาลัยถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในชีวิต นักศึกษาหญิงจำนวนไม่น้อยเกี่ยวพันกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมักถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงออกถึงความเป็นส่วนหนึ่งของสังคม โดยเฉพาะในบริบทเมืองเชียงใหม่ที่รายล้อมไปด้วยสถานบันเทิงชื่อดังมากมาย งานวิจัยนี้จึงทำการวิเคราะห์ผลกระทบทั้งด้านงบประมาณเวลา การเรียน สังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพ จากความสัมพันธ์ทางด้านพื้นที่และเวลาในการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาหญิงในมหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากนักศึกษาหญิงจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชาและชั้นปี รวมทั้งสิ้น 400 คน ประกอบกับการรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์ตัวแทนกองพัฒนาคุณภาพนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษาคณะ/สาขาวิชา และตัวแทนสโมสรนักศึกษาคณะต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า สถานบันเทิงเป็นพื้นที่ที่นักศึกษาหญิงใช้แสดงออกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม การเปลี่ยนผ่านทางสังคมจากนักเรียนเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย และความเป็นผู้หญิงสมัยใหม่ แต่การเข้าร่วมสังคมดังกล่าวก็นำไปสู่ผลกระทบระยะสั้นต่างๆ ได้แก่ ความแปรปรวนของงบประมาณเวลาในการทำกิจกรรมอันเป็นภาระต้องทำ ส่งผลกระทบต่อปัญหาการเรียนและสุขภาพ อีกทั้งทำให้เกิดภาวะการเงินส่วนบุคคลฝืดเคืองด้วย ในส่วนของแนวทางแก้ไขจากนักศึกษาหญิงและหน่วยงานคณะและมหาวิทยาลัย พบว่า นักศึกษาหญิงเห็นด้วยกับโครงการบำบัด ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษาระดับคณะจะเน้นปฏิบัติตามข้อบังคับใช้กฎระเบียบของมหาวิทยาลัยและภาครัฐ ร่วมกับการทำงานเป็นเครือข่ายเพื่อสอดส่องและป้องปรามกิจกรรมนักศึกษาที่มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ถูกนำไปการบูรณาการและกำหนดเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปในอนาคต


 


                    Social transition in terms of school to university life is a major turning point. Lots of female students are now relating with alcohol drinking. It is usually used as a tool for social participation, particularly in Chiang Mai city, which is surrounded by a number of famous nightlife venues. This study therefore analyzes impacts of time budget, studying, social and economic aspects due to time-space relationships of alcohol accessibility among female students of a university in Chiang Mai Province. Using quantitative and qualitative methods in this research, information was derived by collecting questionnaire from 400 female students which are classified by disciplines and years, as well as interviewing with representatives of the university student development division, student quality development division and student associations from various faculties. The study found that nightlife venue is a space where female students expressed themselves as a part of their societies, social transition from high school students to university students, and as modern women. Nevertheless, joining the society has led short-term impacts on variability of time budget in obligatory acts, studying and health problems, as well as insecurity in individual financial status. In terms of solutions from female students and agencies of faculty and university, female students have agreed with the alcohol drinking reduction project among them. In other words, divisions of student quality development in university and faculty levels have focused more on using university regulations and networked with other sectors to monitor and prevent all alcohol-drinking student activities. Those solutions are integrated and defined as policy recommendations for education institutions and related stakeholders in the future.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ