ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี Transformational Leadership of Administrators Affecting Organizational Culture of Secondary Schools under Transformational Leadership of Administrators Affecting Organizational Culture of Secondary Schools under the Secondary Educational Service Area Office 7, Prachinburi Province

Main Article Content

รติรัตน์ วรวงษ์วุฒิไกร (Ratirat Vorrawongwuttigrai)
สัมมา รธนิธย์ (Summa Rathanit)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์(correlative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา (2) วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา และ (3)  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่สร้างและพัฒนาขึ้นเอง มีลักษณะเป็นมาตรวัด (Scale) 5 ระดับ  มีค่าความเที่ยงตรงเป็นรายข้อมีค่าระหว่าง0.67 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.953 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูจำนวน 254 คน ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืน จำนวน 254 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 แล้วจึงดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการวิเคราะห์ด้วยสถิติที่เป็น ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า  (1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านการสร้างแรงบันดาลใจมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (2)ระดับวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี พบว่าโดยรวมและรายเรื่องอยู่ในระดับมากทุกเรื่อง โดยเรื่องหลักการ เป้าหมาย และมาตรฐานทางสังคมในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ส่วนเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติสืบทอดกันมาในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เรียงลำดับความสำคัญ คือ การคำนึงถึงปัจเจกบุคคล (X4 ) การกระตุ้นทางปัญญา (X3) และการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (X1) ตามลำดับ โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 61.00 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ 0.289  (3.1) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ได้แก่ Y = .299 + 0.328 X+ 0.293 X3   + 0.305X1 (3.2) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้แก่  Z = 0. 319   Z4 + 0. 294 Z+   0. 285 Z1


 


               The objective of this correlative research were to study (1) the level of transformational leadership of school administrators in secondary schools, (2) the level of school’s organizational culture, and (3) transformational leadership of school administrators affecting organizational culture of schools under the Secondary Educational Service Area Office 7, Prachin Buri province. The research instrument was a questionnaire which was 5 scale with itemized content validity range from 0.67-1.00 and a reliability of 0.953. The sample were 254 administrators and teachers. The researcher collected 254 completed returning (100 percentages). The data was analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis. The research finding revealed that: (1) The level of transformational leadership of school administrators in secondary schools in overall and each aspects were at the high level. The idealized influence had a highest mean score, whereas the inspirational motivation had a lowest mean score. (2) The level of school’s organizational culture in overall and each aspects was at the high level.  The item of school’s philosophy, goal and social norm had a highest mean score, whereas the school’s inheritable tradition has a lowest mean score.  (3) Transformational leadership of school administrators affecting organizational culture of schools under the Secondary Educational Service Area Office 7, Prachin Buri province were Individualized Consideration  (X4 ), Intellectual Stimulation(X3) , and Idealized Influence  (X1) respectively significant at 0,05 level which the predictive power was 61.00 % and standard error of estimate was  0.289. (3.1) The regression equation or predicting equation in raw scores was the following: Y = 0.299 + 0.328 X4 + 0.293 X3 + 0.305 X1  (3.2) The regression equation in standard scores was the following:  Z = 0. 319 Z4 + 0. 294 Z3 + 0. 285 Z1.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ