แนวทางการสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้ากาบบัวของชุมชนบ้านเชียงแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี (The Guidelines for Continuation of Gab-Bau Weaving Wisdom in Ban Chiangkeaw Community, Ubonratchathani Province)

Main Article Content

วิฑูรย์ ภาเรือง (Vitoon Parueng)
อภิชาติ ใจอารีย์ (Apichart Jaiaree)
จุฑาทิพย์ ถาวรรัตน์ (Chutathip Thawornratana)

Abstract

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทภูมิปัญญาการทอผ้ากาบบัว สภาพปัจจุบัน และเสนอแนะแนวทางการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้ากาบบัวของชุมชนบ้านเชียงแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และเสริมด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง การจัดประชุมกลุ่มย่อย กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่เลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน เจ้าอาวาส ตัวแทนครู ผู้อาวุโส ตัวแทนชาวบ้าน ตัวแทนเยาวชน และกลุ่มสตรี จำนวน 29 คน และการสอบถามด้วยแบบสอบถามกับตัวแทนครัวเรือน จำนวน 402 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


             ผลการวิจัย พบว่า ผ้ากาบบัว เป็นภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองของชาวอุบลราชธานี ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิต และการรังสรรค์บรรจงด้วยจิตวิญญาณ ออกมาเป็นลวดลายอันวิจิตร สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน มีเอกลักษณ์ที่สำคัญ คือ ทอจากผ้าไหมหรือผ้าฝ้าย มีพื้นผิวเป็นเส้นทางตั้ง ขึ้นเด่นชัด ย้อมสีตามธรรมชาติ การทอผ้ากาบบัวถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในชุมชนบ้านเชียงแก้ว ปี พ.ศ. 2545 โดยชาวบ้านสามารถนำมาผสมผสานกับภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นบ้านที่มีอยู่ดั้งเดิมและต่อยอดสร้างเป็นอาชีพเสริมได้ ต่อมาเมื่อสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไปคนในชุมชนจึงเห็นความสำคัญของการทอผ้ากาบบัวน้อยลง ความคิดเห็นของชาวบ้านต่อสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้ากาบบัวด้านผู้รู้ ครูภูมิปัญญา และปราชญ์ชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง ด้านองค์ความรู้ทักษะและวิธีการทอและด้านการสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้า อยู่ในระดับน้อย ส่วนด้านปัญหาในการสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้า อยู่ในระดับมาก สำหรับแนวทางการสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้ากาบบัว ได้เสนอแนวทางการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น 8 แนวทาง คือ การค้นคว้าวิจัย การอนุรักษ์ การฟื้นฟู การพัฒนา การถ่ายทอด การส่งเสริมกิจกรรม การเผยแพร่แลกเปลี่ยน และการเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น เช่น การทำหลักสูตรท้องถิ่น การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชน


 


              This research aims to study the context of Gab-Bau weaving wisdom, current status and guidelines for the continuation of Gab-Bau weaving wisdom in Ban Chiangkeaw community, Ubonratchathani province. The qualitative and quantitative research were adapted in this research. Data collection was done by using document analysis, in-depth interview with semi-structured interview, focus group discussion with the key informants that were selected by using the purposive sampling method; community leaders, local wisdom elite, monk, teacher representative, elder, community representatives, youth representatives, and women's groups, totally 29 persons, and questionnaires with 402 community household representatives. Quantitative data were analyzed by using statistics including frequency, percentage, mean, and standard deviation. Qualitative data were analyzed by using content analysis.


             The research results showed that Gab-Bau weaving was the wisdom of local people of Ubonratchathani province. This reflects the way of life and the elaborate spirit with a fine pattern continued to the present. Its unique identity is cotton or silk, woven into the path, and dyed natural. Gab-Bau weaving folk was introduced to the Ban Chiangkeaw community in 2002. The villagers integrated it with traditional folk wisdom. They also develop Gab-Bau weaving to be a part time job. Later, when the economic and social conditions changed, people in the community placed less importance on tapioca weaving. The opinions of the villagers on the current state of the local wisdom, the cloth weaving of the Ban Chiangkeaw community; in term of the local wisdom expert, local wisdom teachers, and local wisdom elite are medium level. Their opinions in the knowledge, skills and methods of weaving and the continuation of weaving wisdom are low level. Their opinions in the problem in the continuation of weaving wisdom are high level. For the way to continuation of Gab-Bau weaving wisdom, there are eight directions including; research, conservation, rehabilitation, development, relaying, promoting activities, exchange, and to strengthen local wisdom elites. Such as local curriculum and establishment of community museums.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ