แนวทางการบริหารที่ส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี (The Management Guidelines Affecting the Public Service of Cha-am Subdistrict Administrativr Organization Phetchaburi Province The Management Guidelines Affecting the Public Service of Cha-am Subdistrict Administrativr Organization Phetchaburi Province

Main Article Content

สิทธิกร คงสืบชาติ (Sitthikon Khongsubchat)
รัฐ กันภัย (Radh kuphai)

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการบริหารและการจัดบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 2) ศึกษาหลักการบริหารที่ส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และ3) เพื่อหาแนวทางในการบริหารและการจัดบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบของแต่ละองค์การบริหารส่วนตำบลที่มาใช้บริการในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี  จำนวน 391 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเพิ่มเติมโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างจากผู้บริหารระดับสูงขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


             ผลการวิจัยพบว่า


  1. การให้บริการที่มีประสิทธิภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

  2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ ด้านงบประมาณ (X7) ด้านการประสานงาน (X5) ด้านการจัดการองค์การ (X2) ด้านการรายงานผล (X6) ด้านการจัดการบุคลากร (X3) และด้านการอำนวยการ (X4) ร่วมกันทำนายผลการจัดการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอชะอำ คิดเป็นร้อยละ 82.50 (R2 = .825) ดังสมการ tot =.310 (X7) +.164 (X5) +.156 (X2) +.212 (X6) + .102 (X3) + .075 (X4)

  3. แนวทางในการจัดบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอชะอำที่เหมาะสม ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานควรได้รับการฝึกทักษะในการปฏิบัติงานร่วมกับประชาชน โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการให้บริการ และควรมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนให้การจัดบริการสาธารณะสามารถดำเนินไปได้จนบรรลุเป้าหมาย 

       The purposes of this research were to 1) study the administrative principles and public service provision of Subdistrict Administration Organizations in Cha-am District, Phetchaburi Province, 2) investigate the administrative principles affecting public service provision of Subdistrict Administrative Organizations in Cha-am District, Phetchaburi Province, and 3) find out the approaches of public service administration and provision of Subdistrict Administrative Organizations in Cha-am District, Phetchaburi Province. The mixed research methodology was applied in this study. The questionnaire was used for collecting quantitative data from 391 people living in the area and receiving service of Subdistrict Administrative Organizations in Cha-am District. The qualitative data were collected from 12 chief administrators using a structured interview form for the in-depth interview. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis.


               The research results were as follows:


  1. The people’s opinion on 7 aspects of efficient public service provision of Subdistrict Administrative Organizations in Cha-am District, Phetchaburi Province was at a high level. 

  2. The factors affecting public service provision of SAOs in Cha-am District, Phetchaburi Province consisted of budgeting (X7), coordinating (X5), organizing (X2), reporting (X6), personnel managing (X3), and directing (X4), which could predict the public service provision of Subdistrict Administrative Organizations in Cha-am District for 82.50% (R2 = .825), as the following equation:tot =.310 (X7) +.164 (X5) +.156 (X2) +.212 (X6) + .102 (X3) + .075 (X4).

  3. The proper approaches of public service administration and provision of Subdistrict Administrative Organizations in Cha-am District, Phetchaburi Province were that the relevant personnel’s skills on working with people by using people-centered technique should be trained and that the information technology should be applied to mobilize the public service provision to achieve the desired goals.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ