การให้ความหมายและสร้างรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมในสังคมชนบทแบบวิถีชีวิตชาวสวน กรณีศึกษาตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม : การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก (The Study of The Definition and the model of Waste management in Countryside at The Study of The Definition and the model of Waste management in Countryside at Bangnanglee Sub-District, Amphawa District, Samut Songkram Province.

Main Article Content

อุทิศ ดวงผาสุข (Uthid Duangphasuk)
สันติธร ภูริภักดี (Santidhorn Pooripakdee)

Abstract

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อค้นหาความหมายของการจัดการขยะมูลฝอยในสังคมชนบทแบบวิถีชีวิตชาวสวน 2) เพื่อหาข้อสรุปเชิงทฤษฎีฐานรากเพื่ออธิบายถึงปรากฏการณ์ของรูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการขยะมูลฝอยในสังคมชนบทแบบวิถีชีวิตชาวสวน การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อหาข้อสรุปเชิงทฤษฎีจากมุมมองและทัศนะในการให้ความหมาย ที่มาของความหมายและการสร้างรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมในสังคมชนบทแบบวิถีชีวิตชาวสวน เพื่อรองรับสภาพปัญหาในการจัดการขยะมูลฝอยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต กำหนดตัวอย่างทฤษฎีของผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยคุณสมบัติดังนี้ เป็นผู้ที่ทำหน้าที่จัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน เพราะเป็นบุคคลที่รับรู้ถึงปริมาณและการจัดการกับขยะมูลฝอยในครัวเรือนเป็นอย่างดี สามารถสื่อสารและให้สัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth Interview)ได้ มีอายุ ระหว่าง 30 ปี ถึง 70 ปี จำนวน 10 คน แบบแผนการเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก เป็นแบบเจาะจงเก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก พร้อมทั้งสังเกตและการจดบันทึก ผลการวิจัยพบว่า 1.การให้ความหมายของการจัดการขยะมูลฝอยในสังคมชนบทแบบวิถีชีวิตชาวสวน คือ การจัดการขยะมูลฝอยที่ต้องพึ่งตนเองเป็นหลัก แตกต่างไปจากชุมชนเมืองทั้งสภาพพื้นที่  วิถีการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ รวมถึงประเภทของขยะที่แตกต่างกัน 2. รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการขยะมูลฝอยในสังคมชนบทวิถีชีวิตชาวสวน มีรูปแบบในการจัดการขยะมูลฝอย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.ขยะมูลฝอยที่สามารถจัดการได้เอง คือ 1.1 ขยะมูลฝอยที่สามารถนำไปรวบรวมขายได้ เช่น เศษพลาสติก ขวดน้ำ ขวดแก้ว กระดาษ 1.2 ขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร วัชพืช ใบไม้ กิ่งไม้ ให้นำไปฝังกลบ ทำปุ๋ย หรือ เผากลางแจ้งในที่ดินของตนเอง 2. ขยะมูลฝอยที่ไม่สามารถจัดการได้เอง 2.1 ขยะมูลฝอยอันตรายหรือมีพิษ เช่น หลอดไฟ กระป๋องสเปรย์ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ ซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ 2.2 ขยะทั่วไป เช่น ซองขนม         ถุงแกง เปลือกลูกอม ทั้งข้อ 2.1 และ 2.2 ให้ทิ้งลงในถังขยะที่เตรียมไว้เป็นการเฉพาะขององค์การบริหารส่วนตำบล 2.3 ขยะมูลฝอยติดเชื้อ เช่น ผ้ากอซที่ปนเปื้อนเลือดจากการทำแผลของผู้ป่วย สายสวนปัสสาวะ สายให้อาหาร ให้นำไปกำจัดที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำเสนอต่อผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อการจัดการกับขยะมูลฝอยในสังคมชนบทวิถีชีวิตชาวสวนต่อไป


 


             This research aims was 1) To find the managing of solid waste management in countryside.  2) Theoretical foundations conclusions to explain the phenomenon of a model appropriate to manage solid waste in countryside. This research is qualitative research to find the conclusions. From a theoretical perspective, to provide the source of meaning and create an appropriate solid waste management, in countryside. To accommodate the problems in the management of waste, which may occur in the future. Examples of the theory of the primary data provider with features as follows: a person who acts for household waste, as it is the people that knows the quantity and manage solid waste in the household as well. Who has the ability to get an  in-depth interviews are between the ages of 30 to 70 years old, the number of 10 persons to choose a specific master data storage with group discussions, in-depth interviews with both observations and notes. The research found that: 1. The definition of solid waste management in countryside waste that must be self-reliant is essentially different from the urban area to the life style occupations, including different types of garbage. 2. the appropriate format to manage solid waste in countryside. There are patterns in the management of solid waste is divided into 2 categories: 1. Self-managed 1.1 waste that can be used to collect plastic bottles , glass bottles, paper 1.2 compostable waste, such as food scraps, weeds, leaves, twigs, brought to the landfill or fertilizer. 2. The solid waste that cannot be handled manually 2.1 Hazardous or poisonous waste such as lamps, spray bottles, batteries, electronic equipment, 2.2. General waste, such as a candy envelope bag of curries 2.1 and 2.2, to throw into the trash, which is the only of Sub-district administrative organization 2.3 Waste infected, such as contaminated blood from the gauze to make incisions of patients. Urinary catheters, feeding tube, it to get rid of the Sub-District Hospital.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ