ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อความสามารถในการปฏิบัติเวชบริบาลเบื้องต้นของ นักศึกษาพยาบาล จังหวัดนนทบุรี (Factors affecting self-efficacy in primary medical care of Nursing students in Nonthaburi)

Main Article Content

อุ่นเรือน ศรอากาศ (Aunreun Sornarkas)

Abstract

               การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความเชื่อความสามารถในการปฏิบัติเวชบริบาลเบื้องต้น ของนักศึกษาพยาบาล และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อความสามารถในการปฏิบัติเวชบริบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ทำการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) คือ เป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี ปีการศึกษา 2559 ซึ่งผ่านการฝึกวิชาปฏิบัติการเวชบริบาลเบื้องต้น ที่แผนกผู้ป่วยนอก และแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน รวมระยะเวลาในการฝึก 1 เดือน ทำการเก็บข้อมูลในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560


               เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามความรู้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น แบบสอบถามแรงจูงใจในการเรียนรู้ แบบสอบถามสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และแบบสอบถามความเชื่อความสามารถในการปฏิบัติเวชบริบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)


               ผลการวิจัย พบว่า


  1. ระดับความเชื่อความสามารถในการปฏิบัติเวชบริบาลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่างโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง

  2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อความสามารถในการปฏิบัติเวชบริบาลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่างคือ แรงจูงใจในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวน ความเชื่อความสามารถในการปฏิบัติเวชบริบาลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่างได้ ร้อยละ 46.00 (p <.001) โดยแรงจูงใจในการเรียนรู้มีผลต่อความเชื่อความสามารถในการปฏิบัติเวชบริบาลเบื้องต้น (b = .59, p <.001) ส่วนความรู้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น (b = .18, p = .05) และสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ (b = .04, p>.05) ไม่มีผลต่อความเชื่อความสามารถในการปฏิบัติเวชบริบาลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่าง 

        This predictive correlation research aimed to describe level of beliefs self-efficacy about primary medical care of nursing students and to examine the factors affecting self-efficacy in primary medical care. The sample were 76 nursing student in final year of Boromarajonani Collage of Nursing Changwat Nonthaburi, selected by purposive sampling. Who pass nursing practicum of primary medical care in Out Patient Department and Emergency Room. The duration of training 1 month. Data were collecting in March, 2017. The tools composed of self-directed learning, environment that promotes learning, and self-efficacy in nursing practicum of primary medical care for nursing students. The data were statistical analyzed by mean, standard deviation, and standard multiple regression.


               The results were as follows:  


               1) Self-efficacy in nursing practicum of primary medical care was rates at a moderate level.


               2) Factors that affecting self-efficacy in primary medical care of nursing students were found only self-directed learning (b = .59, p <.001). Which explained variance of self-efficacy in primary medical care for nursing students 46 % (p <.001). However, knowledge about primary medical care (b = .18, p = .05) and environment that promotes learning (b = .04, p>.05) cannot affecting self-efficacy in primary medical care of nursing students.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ