พุทธวิธีกับการบริหารการศึกษา (Buddha’s principles and educational administration)

Main Article Content

พัชราวลัย สังข์ศรี (Pacharawalai Sungsri)

Abstract

               การบริหารการศึกษาเป็นงานที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของการบริหารการศึกษา ผู้บริหารต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหาร สำหรับบทความนี้ได้นำเสนอแนวทางการบริหารตามแนวพุทธวิธี  การบริหารงานตามแนวพุทธวิธีคือ การบริหารที่ผู้บริหารนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการบริหาร  ทั้งการบริหารตน บริหารคน และบริหารงาน  หลักธรรมที่สำคัญในการบริหารตนคือ หลักสัปปุริสธรรม 7 (เช่นเป็นผู้รู้จักเหตุ รู้จักผล) และหลักพลธรรม 5 (เช่น เชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ ) ส่วนหลักธรรมที่สำคัญในการบริหารคน คือ หลักพลธรรม 4 (เช่นสังคหพละ คือ กำลังแห่งความสามัคคี) และ สังคหวัตถุ 4 (เช่น การเผื่อแผ่แบ่งปัน)  และหลักธรรมสำคัญในการบริหารงาน คือ หลักแห่งฆราวาสธรรม 4  (ได้แก่ ความซื่อสัตย์ )  และ หลักแห่งอิทธิบาทธรรม 4  (ได้แก่ ตั้งใจมั่นในการทำงาน)


 


               Educational administration is an important factor for human resource development of the country. The key success of educational administration depend upon the administrators. The administrators have to apply both of art and science in their work. This paper provides guidelines of employing Buddha’s principles to the educational administration.The administrators can apply this principles for self administration; personnel administration; and work administration. Buddha’s principles for self administration include 7 Subpurisa-dham (such as knowing of causes and reasons) and 5 Pala-dham (such as having confidence in what they are doing). Buddha’s principles for personnel administration include 4 Pala-dham (such as colleague participation) and 4 Sungkaha-wattu ( such as to be generous). Buddha’s principles for work administration include 4 Karavasa-dham (such as to be faithful ) and 4 Ittibat-dham ( such as paying high attention in work). 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ