บทเรียนสำเร็จรูปเพื่อพัฒนาทักษะไวยากรณ์ภาษาอังกฤษด้วยสื่อหลายมิติแบบปรับตัว ตามสไตล์การเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 (Lessons for English Grammar Skill Development Based on Adaptive Hypermedia According to Mattayomsuksa 4 Students’ Learning (Lessons for English Grammar Skill Development Based on Adaptive Hypermedia According to Mattayomsuksa 4 Students’ Learning Styles)

Main Article Content

เครือวัลย์ จตุพรพูนทรัพย์ (Kruawan Jatupornpoonsub)
วิจิตตรา จันทร์ศรีบุตร (Wichittra Chansribut)
ปิยรัตน์ บุณยรัตนกลิน (Piyarat Bunyarattanakalin)
สุกัญญา ทิพย์รักษ์ (Sukanya Thiprak)
เสกสรรค์ วิลัยลักษณ์ (Seksan Vilailuck)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อพัฒนาทักษะไวยากรณ์ภาษาอังกฤษด้วยสื่อหลายมิติแบบปรับตัวตามสไตล์การเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงสร้างการเรียนที่ 2 (ภาษาต่างประเทศ) 2) เปรียบเทียบผลการประเมินทักษะไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างที่เรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้นก่อนเรียนและหลังเรียน   3) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงสร้างการเรียนที่ 2 (ภาษาต่างประเทศ) ) โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   วิทยาเขตกำแพงแสน   ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ  1) บทเรียนสำเร็จรูปเพื่อพัฒนาทักษะด้านไวยากรณ์ด้วยสื่อหลายมิติแบบปรับตัวตามสไตล์การเรียนรู้ของผู้เรียนจำนวน 3 บท 2) แบบประเมินทักษะไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ทดสอบก่อนและหลังเรียน 1 ฉบับ และ 3)  แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้น 1 ฉบับ ทำการทดลองโดยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองจากบทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้น


               การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ t-test แบบจับคู่ เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินทักษะไวยากรณ์ภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูปใช้ค่าเฉลี่ยในการหาค่าระดับความพึงพอใจของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า  1) ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้น อยู่ในระดับ 75.81/69.86 แสดงว่าบทเรียนสำเร็จรูปมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีพอใช้ 2) ผลการประเมินทักษะไวยากรณ์ภาษาอังกฤษหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ 3) ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับมาก


 


                The  purposes of this research were 1) to construct and test the efficiency of grammar lessons based on adaptive hypermedia according to Mattayomsuksa 4 (foreign languages) students’ learning styles, 2) to compare students’ English grammar ability before and  after using the lessons and 3) to study students’ opinions towards the learning activities in the lessons. The sample consisted of one selected class of 35 Mattayomsuksa four students (foreign Languages) of Kasetsart University Laboratory School, Kamphaeng Saen Campus, Educational Research and Development Center, NakhonPathom, during the semester 2 of academic year 2016. The instruments used for gathering data were  1) three lessons constructed 2) a grammar skill test used as a pretest and posttest  and 3) a questionnaire on opinions towards the learning activities in the lessons constructed. 


               The t-test was used to analyze the data in order to assess the students’ English grammar ability before and after using the lessons. In addition, the mean of items was used to evaluate the students’ opinions toward the learning activities in the lessons constructed.  The results of the study were:1) the average score of the grammar tests was 75.81 percent, whereas that of the posttest was 69.86 percent. This means that the efficiency of the English grammar lessons constructed was at a fair good level.  2) the students’ English grammar ability after using the lessons constructed was higher than that of before using the lessons constructed. 3) the students’ opinions toward learning activities in the lessons constructed were highly positive.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ