สภาพการจัดการสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนาของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย (Conditions of Information Management of Lanna Local Wisdom in Thai Universities.)

Main Article Content

จามจุรี จิโนสวัสดิ์ (Jamjuree Jinosawat)
วรรษพร อารยะพันธ์ (Watsaporn Arayaphan)

Abstract

                 งานวิจัยเรื่อง สภาพการจัดการสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนาของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือ กลุ่มประชากร ประกอบด้วยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 หน่วยงาน คือ 1) หน่วยงานด้านบริการสารสนเทศหรือห้องสมุด 2) หน่วยงานด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และ 3) หน่วยงานด้านการวิจัย ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 8 จังหวัด ผลการศึกษาด้านการบริหารจัดการ มีดังนี้ 1) ด้านโครงสร้าง พบว่าทุกหน่วยงานเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้องค์กรของ 2) ด้านนโยบาย พบว่าหน่วยงานส่วนใหญ่มีการกำหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา เช่น การรวบรวมและเผยแพร่ การพัฒนาคลังสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา เป็นต้น 3) ด้านบุคลากร พบว่าบุคลากรแต่ละหน่วยงานขึ้นอยู่กับความต้องการและการจัดสรรอัตรากำลังจากส่วนกลางมหาวิทยาลัย 4) ด้านการจัดสรรงบประมาณ พบว่าทุกหน่วยงานได้รับงบประมาณสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินเป็นหลัก 5) ด้านการจัดการสารสนเทศ พบว่าหน่วยงานส่วนใหญ่มีวิธีการดำเนินการจัดหาสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนาโดย การจัดซื้อ การรับบริจาค การผลิตเอง และการขอยืมเพื่อจัดทำสำเนา ด้านกระบวนการจัดการสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา มีดังนี้ 1) รูปแบบสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา พบว่าห้องสมุดเป็นหน่วยงานเดียวที่มีสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนาทั้งที่อยู่ในรูปสื่อตีพิมพ์ สื่อไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 2) กระบวนการจัดการสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา พบว่า ห้องสมุดเป็นเพียงหน่วยงานเดียวที่มีกระบวนการจัดการสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนาที่ครบถ้วนตั้งแต่การวางแผนการดำเนินงาน การจัดหาและการรวบรวม การวิเคราะห์และจัดระบบ การจัดเก็บและการประมวลผล การบริการและการเผยแพร่ การสงวนรักษาและความร่วมมือและเครือข่ายสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนาในเขตภาคเหนือตอนบน


 


                This qualitative study aimed to explore conditions of information management of Lanna local wisdom in Thai universities. An interview schedule was used for data collection conducted with administrators and staff (3 agencies concerning with information management of Lanna local wisdom: 1) Library 2) Art and Culture agency and 3) Research agency in 8 provinces of upper Northern Thailand.). The results from the study in management part found that: 1) Agency structure - All agencies are under the university organization such as Main library, Arts and Culture, and Research Center. 2) Policy - Most agencies had the determination of policy and strategic plan about Lanna local wisdoms such as information acquisition and information distribution of Lanna local wisdoms and development database. 3) Personnel - A number of personnel of each agency was not the same, depending on needs and allocation of the central agency of the university. 4) Budget - All agencies receive the funding support from government budget. 5) Information management – majority of agency have the method of acquiring information on local wisdom of Lanna by buying, asking for donations, self-production and borrowing to make a copy.


            The Information management processes of Lanna local wisdom are as follow: 1) The Information format of Lanna local wisdom found that the library is the only one agency that has information on Lanna local wisdom is available in printed materials, non-printed material and electronic database. 2) Information Management Processes of Lanna local wisdom found that the library was only one agency having the process of information management of Lanna local wisdoms. This included operational planning, seeking and collection, analysis and system arrangement, keeping and processing, service and dissemination, preserving and coordination/networking in Upper Northern Thailand.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ