การศึกษาแนวทางส่งเสริมการทำงานเพื่อสร้างความสุขของผู้สูงอายุในอาเซียน (The Study of Approaches to Promote Work for Happiness of the Older People in ASEAN)

Main Article Content

จิตตรา มาคะผล (Jittra Makapol)

Abstract

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการทำงานของผู้สูงอายุในอาเซียน และ 2) เสนอแนวทางส่งเสริมการทำงานเพื่อสร้างความสุขของผู้สูงอายุในอาเซียน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยใช้เทคนิคการประเมินภาวะชนบทอย่างเร่งด่วน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว มาเลเซีย เมียนมา เวียดนามและไทย จำนวน 239 คน และศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมผู้สูงอายุของประเทศสิงคโปร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ และค่าร้อยละ


               ผลการวิจัยพบว่า


  1. ลักษณะงานที่ผู้สูงอายุในอาเซียนตอบว่าเป็นงานของตน สรุปได้เป็น 5 ประเภท คือ งานบ้าน    งานเกษตรกรรม งานหัตถกรรม งานค้าขาย และงานอื่นๆ เมื่อเรียงลำดับจำนวนผู้ตอบจากมากไปน้อย คือ   

  2. งานค้าขาย งานเกษตรกรรม งานอื่นๆ (เช่น งานอดิเรก อาสาสมัคร รับจ้าง) งานบ้าน และงานหัตถกรรม

  3. ความสุขที่ได้จากการทำงานของผู้สูงอายุในอาเซียน สรุปได้เป็น 4 ด้าน (4R) โดยเรียงลำดับจำนวนผู้ตอบในแต่ละด้านจากมากไปน้อย ดังนี้ R1 คือความสุขจากการได้มีความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Relationship) ได้แก่ การได้ติดต่อผู้คน ได้ดูแลลูกหลานและญาติผู้ใหญ่ R2 คือความสุขจากการได้รับการยอมรับ (Recognition)  ได้แก่ การพึ่งตนเองได้ ได้รับการเคารพนับถือ ยอมรับในฝีมือ R3 คือความสุขจากการได้รับผลตอบแทนหรือรางวัล (Reward) ได้แก่การมีรายได้ ได้รับการยกย่อง มีชื่อเสียง  และ R4 คือความสุขจากการได้รับความเพลิดเพลิน (Relaxation) ได้แก่ การได้เคลื่อนไหว ได้ทำงานเบาๆ ได้ทำตามใจปรารถนา 

  4. แนวทางส่งเสริมการทำงานเพื่อสร้างความสุขของผู้สูงอายุในอาเซียน จำแนกเป็นข้อเสนอต่อ ผู้สูงอายุ ครอบครัวผู้สูงอายุ และชุมชน เสนอแนวทางส่งเสริมความสุขใน 4 ด้านคือ แนวทางส่งเสริมความสุขจากการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นในการทำงาน แนวทางการส่งเสริมความสุขจากการได้รับผลตอบแทนหรือรางวัลอันควรจากการทำงาน แนวทางส่งเสริมการได้รับการยอมรับจากการทำงาน และแนวทางส่งเสริมความสุขจากการได้รับความเพลิดเพลินจากการทำงาน

 


         The research objectives were 1) to study working conditions of the older people in ASEAN and 2) to propose the approaches to promote working for happiness of the older people in ASEAN. Methodology used was qualitative research, with the Rapid Rural Appraisal (RPA) technique. Data collected by interviewing. The sample groups were in 6 ASEAN countries: Cambodia, Laos, Malaysia, Myanmar, Vietnam and Thailand. Singapore was selected as the best practice study in promoting older people. Content analysis, frequency and percentage were used to analyze the data.


               The research findings were:


  1. In term of working conditions of the older people in ASEAN, the work of the older people in ASEAN can be divided into 5 categories: housework, agriculture, handicraft, trading, and others. The types of older people’s work in descending order were:  trading, agriculture, others, housework and handicraft.

  2. Regarding happiness from the work of older people in ASEAN, the 4 aspects  of happiness that older people gained from work in descending order were 4R: the happiness from having relationship (R1), being recognized (R2), being rewarded (R3), and enjoying relaxation (R4).

  3. The research proposes the approaches to promote the work for happiness of older people in ASEAN in 3 groups:  the older people themselves, their families and their community, in 4 aspects, namely, guidelines to promote happiness from having a cordial relationship with other people from work, being rewarded from work, being recognized from work, and enjoying relaxation from work.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ