การถ่ายทอดองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาของครูศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองวิถีเขียวของผู้เรียนในพื้นที่โครงการหลวง ภาคเหนือของไทย (King Bhumibol's Science Knowledge Based Transfer of Teachers’ Community Learning Centers to Promote Learners King Bhumibol's Science Knowledge Based Transfer of Teachers’ Community Learning Centers to Promote Learners’ Green Citizenship in Royal Project Areas, Northern of Thailand

Main Article Content

ชรินทร์ มั่งคั่ง (Charin Mangkhang)

Abstract

              การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการถ่ายทอดองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองวิถีเขียวของผู้เรียนในชุมชนพื้นที่โครงการหลวงและ 2) สังเคราะห์องค์ความรู้ศาสตร์พระราชาที่นำไปใช้ของผู้เรียนสู่การเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในชุมชนพื้นที่โครงการหลวง ภาคเหนือของไทย การวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงและมีความสมัครใจของครู จำนวน 15 คน และผู้เรียนวัยผู้ใหญ่ที่เป็นเกษตรกรในชุมชนพื้นที่โครงการหลวง จำนวน 30 คน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า การถ่ายทอดองค์ความรู้ตามศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองวิถีเขียวประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาบริบทเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ 2) การคัดเลือกพื้นที่พัฒนาแบบเวทีประชาคม 3) การออกแบบกระบวนการถ่ายทอดความรู้ 4) การตรวจสอบผลผลิตของการพัฒนาเชิงพื้นที่ 5) การประเมินผลลัพธ์ของการพัฒนาเชิงพื้นที่ 6) การสร้างเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา และ 7) การพัฒนาศักยภาพพลเมืองในชุมชนพื้นที่โครงการหลวงเพื่อการส่งเสริมการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน สำหรับแนวปฏิบัติที่ดีในการใช้ความรู้ศาสตร์พระราชามีหลักการปฏิบัติ 5 องค์ประกอบ คือ 1) การวิเคราะห์บริบทเพื่อวางแผนการพัฒนาเชิงพื้นที่ (Context) 2) การส่งเสริมสนับสนุนเพื่อความยั่งยืน (Input) 3) กระบวนการดำเนินงานเพื่อสร้างแนวปฏิบัติที่ดี (Process) 4) ผลผลิตของการถ่ายทอดความรู้ (Product) และ 5) องค์กรเพื่อการหนุนเสริมสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Supporting Agencies)


 


               This research aims to: 1) study the King Bhumibol’s Science knowledge based transfer of  community learning centers to promote learners’ green citizenship in the royal project areas 2) synthesize King Bhumibol’s Science knowledge from the best practice in communities in the royal project areas in the northern areas of Thailand. This research used a qualitative methodology. The target groups were selected from voluntary 15 teachers and 30 famers in communities of the royal project areas. The results would be analyzed in term of content analysis. The research results revealed that the King Bhumibol’s Science knowledge based transfer to promote the green citizenship consists of 7 steps: 1) context study for area-based development 2) to area selection by ad coring civil society forum 3) process design of knowledge transfer 4) monitoring product of the area-based development 5) area-based development evaluation 7) citizen competency development in the royal project area for promoting sustainable self-reliance. The best practices in the use of the King Bhumibol’s Science have five principles: 1) contextual analysis 2) sustainable input 3) best practice process 4) product transfer and 5) lifelong learning supporting agencies


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ