ความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติเกี่ยวกับตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Cognitive Factors towards Indicators and Criteria for Curriculum level Quality Assurance and Implementation Cognitive Factors towards Indicators and Criteria for Curriculum level Quality Assurance and Implementation of Quality Circle among Srinakharinwirot University Supporting Staffs

Main Article Content

ธนภูมิ อติเวทิน (Tanapoom Ativetin)

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และรายได้ต่อต่อเดือนกับทัศนคติในการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ (2) เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความรู้ความเข้าใจต่อตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรกับทัศนคติในการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ ประกอบด้วย การวางแผน การดำเนินงานตามแผน การติดตามผล และการปรับปรุงผลการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วยบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรในหน่วยงานที่มีการเรียนการสอน จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า  


  1. บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีทัศนคติต่อการเนินงานตามวงจรคุณภาพแตกต่างกัน ทั้งในภาพรวมและรายด้าน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ขณะที่ลักษณะด้านเพศและสถานภาพสมรส ไม่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

  2. บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรแตกต่างกันมีทัศนคติต่อการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพแตกต่างกันในภาพรวม ยกเว้นรายด้านในด้านการวางแผน ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01

          This research was aimed at (1) Comparing differences of personal factors including sex, ages, marital status, education level, work experiences, monthly income and attitudes towards implementation of quality circle and (2) Comparing differences of cognition factors of indicators and criteria for curriculum level quality assurance and attitudes towards implementation of quality cycles including planning, doing, checking and acting. Research samples consisted of 400 Srinakharinwirot University supporting staffs working in teaching units. The findings were shown as followed: 


  1. Supporting staffs with different education levels had different attitudes towards implementation of quality circle – both in overall aspects and in aspects of planning, doing, checking and acting at 0.01 statistical level of significance whereas in terms of sex and marital status had no statistical differences.

  2. Supporting staffs with different cognitive levels towards indicators and criteria for curriculum level quality assurance had different attitudes towards implementation of quality circle – in overall aspects and in aspects of doing, checking and acting at 0.01 statistical level of significance.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ