การพัฒนาครูมืออาชีพโดยใช้การวิจัยจากประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการสร้างสรรค์คุณภาพวิชาการ (The Professional Teachers Development by Research from Continually Learning Experience with Creativity Academic Quality)

Main Article Content

นรินทร์ สังข์รักษา (Narin Sungrugsa)
วรรณวีร์ บุญคุ้ม (Wannawee Boonkoum)
สุมาลี พงศ์ติยะไพบูลย์ (Sumalee Pongtiyapaiboon)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์และความต้องการในการพัฒนาครูมืออาชีพ 2) ทดลองใช้หลักสูตรการฝึกอบรมและคู่มือในการพัฒนาครูมืออาชีพ    3) ศึกษาการปฏิบัติที่เป็นเลิศของครูสู่ผู้เรียนในการพัฒนาครูมืออาชีพโดยใช้การวิจัยจากประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องด้วยการสร้างสรรค์คุณภาพวิชาการ และ 4) ประเมินผลและถอดบทเรียนการพัฒนาครูมืออาชีพโดยใช้การวิจัยจากประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องด้วยการสร้างสรรค์คุณภาพวิชาการ ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาเป็นครูในจังหวัดเพชรบุรีของภูมิภาคตะวันตก  ดำเนินการวิจัยใน 2 โรงเรียนจำนวนครู  66 คน  ใช้การเลือกโรงเรียนแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสภาพการณ์ในการพัฒนาครูมืออาชีพ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .894 แนวทางการสัมภาษณ์ระดับลึก และแนวทางการสนทนากลุ่ม หลักสูตรการฝึกอบรมและคู่มือ แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรมมีค่าความยาก เท่ากับ .40-.80 และค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ .20-.80 แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย แบบสอบถามการประเมินผลมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .887  แนวทางการถอดบทเรียน การวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยโปรแกรมสถิติคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทีแบบไม่อิสระจากกัน และถอดบทเรียนด้วยวิธีการเรียนรู้หลังปฏิบัติการ (After Action Review : AAR)


 


               ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเป้าหมายภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความมุ่งมั่นและความพึงพอใจต่อวิชาชีพครู  สภาพการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับมาก ความต้องการด้านระเบียบวิจัยในชั้นเรียน ความถี่สูงสุด คือ ต้องการมีเอกสารไว้ศึกษา ร้อยละ 48.00 ความต้องการในการพัฒนาการเรียนการสอนและผู้เรียน ปัญหาของผู้เรียนฐานะยากจน ขาดความรับผิดชอบ สมาธิสั้น ครูจบใหม่ขาด ประสบการณ์ ครูรุ่นเก่าขาดการพัฒนาตนเอง  2) ผลการทดลอง การจัดอบรมมีคะแนนก่อนการและหลังการอบรมเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  การประเมินความรู้ ความสามารถและการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนเป้าหมายในภาพรวมอยู่ในระดับมาก การประเมินคุณภาพการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับดี 3) การปฏิบัติที่เป็นเลิศในด้านครู การมีไฟในตัวมีเป้าหมาย และมีความมุ่งมั่น การพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารโรงเรียนกำหนดนโยบายชัดเจน สร้างขวัญกำลังใจ สนับสนุนและมีการเสริมแรงทางบวก  เพื่อนร่วมงานมีการทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และครอบครัวมีความเข้าใจและให้กำลังใจ สนับสนุนซึ่งกันและกัน และ 4)  การถอดบทเรียน พบว่า (1) การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการอย่างครูมืออาชีพ (2) มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการให้คุณค่าในวิชาชีพครู (3) มีวัฒนธรรมร่วมในบทบาทของความเป็นครู (4) ผู้นำมีบทบาท วิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษา (5) ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีไฟในตัว และมีความมุ่งมั่น และ (6) ความร่วมมือจากพลังกลุ่มในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การวิจัยและจากประสบการณ์การเรียนรู้


 


                 This was an research & development and it had the mixed research methods based on quantitative and qualitative methodologies. The objectives were to 1) survey the situations and needs in the developing of professional teachers 2) try out the training course and its manual of how to develop professional teachers 3) study the good practices of professional teachers 4) evaluate and take the lesson learnt from this. The research processes were divided into 3 steps. The studied group was 66 teachers teaching in the two purposively selected schools in Thai western region. The instruments were the survey questionnaire form used to study the situations and demands as mentioned above and this had its reliability value = .894, the guideline of in-depth interviewing and the guideline of focus group discussion, the training course and its manual of how to develop professional teacher, the questionnaire form used to test before and after the training course were terminated and this had its discriminant power value = .20-.80, difficulty value=.40-.80 and reliability value=.887, and the guideline of how to take the lesson learnt from the research with After Action Review (AAR) approach.  The collected data was quantitatively and qualitatively analyzed and presented into its frequency, percentage, mean, standard deviation, outcomes of Paired t-test analysis and AAR approach.      


               From the results it could be demonstrated as follows: 1) The situations in developing of professional teachers were evaluated at much level. The teachers had their self-development, commitment and satisfaction toward the professional teacher, and learning management at much level as well. For the needs of things carried out in this action research they needed to the study documents and this was measured at highest frequency (48%). They also needed to the development of learning and students. The problems found here were that the students had their indigent status, they lacked of responsibilities and concentration in learning. The new teachers had their few experiences of teaching and the old did not have enough the self-development. 2) The post-tested score had its value more than the pre-tested score significantly at p=.05. The knowledge, performance and research practices of teachers were overall evaluated at much level. Furthermore the quality of research practices was measured at good level. 3) For the good practices the teachers had their full-filled of work energy, commitments and targets of learning. They also had self-development in continuous learning skills. The school administrators manipulated the clear school policy, built up the morale and they reinforced the positive forces to the teachers. The teachers could share some of their knowledge and supported each together including co-worked as the one team work. Moreover they were encouraged from their family. 4)  From the lesson learnt, all of these were that the teachers participated in creating of their academic works as professional practices, the values of professional teacher was clearly set up, the teachers could share their learning cultures, the administrators had their vision, roles and commitment in the development of education, the teachers had their self-continuous development, full-filled of work energy, commitments and participation in the learning of research processes had its great effects to the development of professional teachers.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ