ประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร (Human Resource Management Effectiveness of Hospitals under the Bangkok Metropolitan Administration)

Main Article Content

น้องนุช วงษ์สุวรรณ (Nongnuch Wongsuwan)
สถิตย์ นิยมญาติ (Satit Niyomyaht)
บุญเลิศ ไพรินทร์ (Boonlert Pairindra)

Abstract

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลากรของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.79 ถึง 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย  ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบเชิงชั้น


               ผลการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานครมีประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรมนุษย์มากที่สุดคือ  ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การ รองลงมาเป็นยุทธศาสตร์องค์การ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และความร่วมมือภายในองค์การ ตามลำดับ โดยที่ทรัพยากรการบริหารเป็นปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เมื่อพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์การกำหนด พบว่า  ปัจจัยกลุ่มการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามนโยบายเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มากกว่าปัจจัยกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และความร่วมมือของหน่วยงานในองค์การ ทั้งนี้ ปัจจัยกลุ่มการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามนโยบาย  กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์  และความร่วมมือของหน่วยงานในองค์การ ร่วมกันอธิบายความผันแปรของประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้ร้อยละ 57.7


 


              The objectives of  this  study  were two folds:  first, to determine the effectiveness of human resource management (HRM) of hospitals attached to Bangkok Metropolitan Administration; and second, to ascertain the factors  influencing the HRM effectiveness of hospitals attached to Bangkok Metropolitan Administration. The study was survey in nature. 400 staff members of hospitals were stratified sampling selected as the sample for the study. The study instrument was a set of self – administered questionnaires which had the reliability coefficient between 0.79 and 0.92; the collected, quantitative data were analyzed by resorting to descriptive statistics (frequency, percentage, mean, and standard deviation). Meanwhile, to analyze the factors having an important bearing on the effectiveness of human resource management, the researcher employed Hierarchical  multiple regression analysis.


               As a result of the data analysis, the researcher has discovered the following facts:


               The effectiveness of human resource management were at a high level. Factors influencing the effectiveness of HRM in ranking order (from high to low) were as follows: leadership of the organization, strategy of the organization, management process of human resource, and the collaboration of personnel in the organization. It was noteworthy that the administrative resource had no influence on the HRM effectiveness at all. In terms of coefficient of determination : R2, it was found that a group of factors pertaining to human resource management practiced in accordance with the policy had influence on HRM effectiveness far greater than the HRM process and the collaboration of personnel in the organization. Even so, human resource management practiced according to the policy, the HRM process, and the collaboration in the organization (combined together) could explain the variance in the effectiveness of HRM by 57.7 %


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ