“สตรี@ธรรมศาสตร์”: กลุ่มกิจกรรมสตรีนิยมด้านการละคอนและภาพยนตร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (“SATREE@Thammasat”: The Drama & Film Group of Feminist Activists at Thammasat University)

Main Article Content

ปกครอง บุญ-หลง (Pogkrong Boon-Long)

Abstract

                 งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเพื่อเป้าหมายการพัฒนา วัตถุประสงค์คือนำเสนอผลการประเมินค่าความพึงพอใจของกลุ่มผู้ร่วมการวิจัยหรือกลุ่มลูกค้าที่มีต่อกิจกรรมในโครงการศิลปวัฒนธรรมของ “สตรี@ธรรมศาสตร์” กลุ่มกิจกรรมสตรีนิยมด้านการละคอนและภาพยนตร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งดำเนินงานโดยไม่แสวงผลทางธุรกิจการค้า ภายใต้สังกัดวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กิจกรรมเหล่านั้นได้แก่กิจกรรมที่ใช้สื่อละคอนและภาพยนตร์เป็นเครื่องมือ โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2559 และวันที่ 24 ธันวาคม 2559 กิจกรรมดังกล่าวนับเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการการจัดตั้งกลุ่ม “สตรี@ธรรมศาสตร์” ทั้งนี้ กิจกรรมว่าด้วยสื่อภาพยนตร์มีส่วนเชื่อมโยงกับกิจกรรมในชั้นเรียนรายวิชา สต.637 การศึกษาว่าด้วยประเด็นเรื่องเพศสถานะและเพศวิถี ในหลักสูตรของวิทยาลัยสหวิทยาการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ลูกค้าผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยมีทั้งหมด 22 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปภาพยนตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปการละคอน ด้านละ 1 คน เจ้าหน้าที่และผู้บริหารวิทยาลัยสหวิทยาการ ส่วนละ 2 คน  ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1 คน นักศึกษาในรายวิชา สต.637 จำนวน 1 คน และกลุ่มประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมอีก 14 คน ข้อมูลการวิจัยรวบรวมจากแบบสอบถามเพื่อสำรวจการประเมินค่าความพึงพอใจ อันแทนค่าระดับเป็นตัวเลข จากระดับ 1 ถึงระดับ 5 แล้วนำมาประมวลผลโดยการคำนวณหาค่าเฉลี่ยตามหลักคณิตศาสตร์ เทียบค่าระดับความพึงพอใจของกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่ม ผลการวิจัยปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจรวมของกลุ่มลูกค้าทุกกลุ่มคือ 4.04 อันเป็นค่าระดับขั้นมาก กลุ่มที่ให้ค่าความพึงพอใจสูงสุดคือผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปภาพยนตร์ ค่าเฉลี่ยคือ 5.00 อันเป็นค่าระดับขั้นมากที่สุด กลุ่มที่ให้ค่าความพึงพอใจต่ำสุดคือผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปการละคอน ค่าเฉลี่ยคือ 3.50 อันเป็นค่าระดับขั้นปานกลาง ทั้งนี้ ข้อมูลเชิงคุณภาพอันเป็นข้อคิดเห็นของลูกค้าแต่ละกลุ่มในรูปข้อความบรรยายขนาดสั้นหลังจากการประเมินค่าความพึงพอใจ ให้ผลเป็นข้อมูลสนับสนุนการประเมินค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจข้างต้น ข้อค้นพบสำคัญของงานวิจัยนี้ ได้แก่ศักยภาพของ “สตรี@ธรรมศาสตร์” ในฐานะตัวชี้วัดหนึ่งของวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันเป็นองค์กรต้นสังกัด สำหรับการประเมินผลการประกันคุณภาพ ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ  ฉบับปี 2558-2561


 


                This research uses mixed methods approach, qualitative and quantitative research design, for the development goals. It aims to report the evaluation of the informants or the customers for their satisfaction of the activities in the non-profit cultural project organized by “SATREE@Thammasat,” the drama & film group of feminist activists at College of Interdisciplinary Studies, Thammasat University. Those activities, which are the one of crucial parts of the establishment of the group, include drama and film media, held on June 11, 2016 and on December 24, 2016. Essentially, the activity on film media partly relates with the activities of the MA class—WS.637 Studies in Gender and Sexuality, offered by College of Interdisciplinary Studies, in Semester 2 of the Academic Year 2015. The total number of customers participating in the research project is twenty-two. They consist of a film expert, a drama expert, two officers and two authorities of College of Interdisciplinary Studies, an authority of Thammasat University, a student in the class of WS.637, and fourteen people from the outside. Research data is gathered from the questionnaire asking the customers to value their satisfaction by level encoded with the number, from level 1 to level 5. The estimation by each group of the customers indicated as the median value of their satisfaction becomes a key tool for statistical data analysis in this study. The result of the study reveals that the grand median value calculated from all group of customers is 4.04, signifying their satisfaction of the project at the level of ‘much.’ The customer evaluating the project at the highest level is the film expert; another one at the lowest level is the drama expert. The median value estimated by both of them is 5.00 and 3.50 respectively, signifying their satisfaction at the level of ‘very much,’ and ‘average,’ respectively. Significantly, the qualitative research data derived from the customer’s opinions about the activities given as short descriptive messages after the evaluation is partly referred to support the evaluation indicated as the median value. The main finding in this research is the potential of “SATREE@Thammasat” as an indicator of the quality assurances required by Education Criteria for Performance Excellence (EdPEx) in version of B.E. 2558-2561 for College of Interdisciplinary Studies, Thammasat University.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ