การพัฒนาความตระหนักในจิตสาธารณะของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ (The Developmental Awareness in Public Mind Regarding of Students in Faculty of Education Suan Dusit University through the Experiential The Developmental Awareness in Public Mind Regarding of Students in Faculty of Education Suan Dusit University through the Experiential Learning Activities.

Main Article Content

ประภาวรรณ สมุทรเผ่าจินดา (Prapawan Samutpaochinda)
จุฬารัตน์ วัฒนะ (Jularat Wattana)
วิกร ตัณฑวุฑโฒ (Vikorn Tantawutho)

Abstract

              วัตถุประสงค์การวิจัยนี้เพื่อ 1. สร้างกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อพัฒนาความตระหนักในจิตสาธารณะของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 2. ศึกษาการพัฒนาความตระหนักในจิตสาธารณะของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์   ศึกษากลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 25 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ แบบวัดจิตสาธารณะ และแบบบันทึกอนุทิน ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดของ Kolb มี 4 ขั้น คือ Do-Check-See-Show  2. นักศึกษามีคะแนนความตระหนักในจิตสาธารณะหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ (x=65.60, S.D.=6.12) สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ (x=55.16, S.D.=8.10) โดยมีคะแนนความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมสูงขึ้น ( x= +10.44) ในภาพรวม 3. นักศึกษามีระดับการพัฒนาความตระหนักในจิตสาธารณะ หลังการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ระดับมาก จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 52.00 ระดับปานกลาง จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 48.00


 


               The purposes of this study were 1) to design experiential learning activities for public mind development of undergraduate students in the Faculty of Education, Suan Dusit University, and 2) to examine the students’ public mind development through the experiential learning activities. The sample consisted of 25 first-year students studying in the second semester of the 2016 academic year who volunteered to participate in this study. The research instruments included an experiential learning activities plan, a public mind test, and a journal writing. The study results indicated:  1) the developed experiential learning activities based on Kolb's concept contained 4 stages of “Do-Check-See-Show”; and 2) the students’ average post-test score of public mind awareness ( x=65.60, S.D.=6.12) was higher than their average pre-test score ( x=55.16, S.D.=8.10), at the rate of  = +10.44 on the whole; and 3) the students’ public mind awareness got improved after their participation in the experiential learnin gactivities, with 13 students (52%) and 12 students (48%) improved in terms of public mindawareness, in the high and moderate levels, respectively.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ