การพัฒนาระบบการสารสนเทศการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (A System Development of the Technological Diffusion based on the Project initiated by Her Royal Highness from Princess Maha Chakri Sirindhorn)

Main Article Content

พลศุภรักษ์ ศิริจันทรานนท์ (Ponsuparak Sirichandranon)
วรปภา อารีราษฎร์ (Worapapha Arreerard)
มนต์ชัย เทียนทอง (Monchai Tiantong)

Abstract

             การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ 2) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อระบบสารสนเทศการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และ 2) ครูและบุคลากรทางการศึกษา จากโรงเรียนที่สังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 20 โรงเรียน จำนวน 46 คน โดยเป็นครูที่อาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) ระบบสารสนเทศการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของระบบสารสนเทศการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 3) แบบสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อระบบสารสนเทศการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศ  สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


             ผลการวิจัย พบว่า 1) ระบบประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนการสื่อสาร ส่วนเงื่อนไขของระบบ ส่วนรายละเอียดหลักสูตร ส่วนประมวลผลคำค้น และส่วนผู้ใช้งาน  เมื่อนำไปพัฒนาระบบแล้วนำเสนอต่อ ผู้เชี่ยวชาญ โดยมีความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของระบบ สารสนเทศที่พัฒนาขึ้นโดยรวมมีความเหมาะสมมากที่สุด และ 2) กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


 


              The objectives of the research were to develop a system of information technology diffusion under the royal project initiated by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn, and to survey the satisfaction of the research participation with the system of information technology diffusion. The target population was ten specialists and forty six teachers including educational personnel of twenty schools under the local administration organization in Maha Sarakham who participated in the project voluntarily. The instrument was a system of information technology diffusion, an assessment form of the appropriateness of the system, a questionnaire on the satisfaction. The statistics used were mean and standard deviation. 


               The research results showed that the system of information technology diffusion consisted of five parts: communication, conditions of the system, details of training courses, keyword of information retrieval and users. The average appropriateness of the system of information technology diffusion was at the highest level The overall satisfaction of the target population with the system was at the highest level

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ