การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ (The development of operating the pre-sentence investigation of probation officer.)

Main Article Content

ปิยะนุช เรืองโพน (Piyanoot Ruangpon)
จิตติสานติ์ วุฒิเวชช์ (Jittisan Wuttivet)

Abstract

           การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง 1) ประสิทธิภาพ ปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ  และ 2) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ พนักงานคุมประพฤติผู้ปฏิบัติงานสืบเสาะและพินิจตามมาตรา 56 จากสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดตราด ยโสธร กาฬสินธุ์ ลำปาง และสมุทรสงคราม  ประกอบด้วยข้าราชการระดับปฏิบัติการ 4 คน ระดับชำนาญการ  2 คน และพนักงานราชการ 8 คนที่ และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมสมอง วิเคราะห์ และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากพนักงานคุมประพฤติสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเลยและสกลนคร 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา และการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า


  1. ประสิทธิภาพ ปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานสืบเสาะและพินิจ พบว่า พนักงานคุมประพฤติให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ในการปฏิบัติงานเรียงตามความสำคัญได้แก่ (1) องค์ความรู้ในกระบวนการรวบรวมหลักฐาน (2) องค์ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ และคู่มือการปฏิบัติงาน (3) องค์ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ความเสี่ยงและแนวโน้มการแก้ไขปรับปรุงพฤติกรรม และ (4) องค์ความรู้ในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน (1)ด้านภาระงาน คือ ต้องรับผิดชอบงานมากว่า 1 ภารกิจปริมาณงานคดีมากกว่ามาตรฐานงานที่กำหนด (2)ด้านการประสานงาน คือ การรับส่งเอกสารไม่เป็นไปตามระยะเวลา และการรับแจ้งผลประเด็นกลับจากสำนักงานด้านยุติธรรมอื่นๆ ล่าช้า (3) ด้านวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน คือคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ไม่เพียงพอปฏิบัติงาน และ (4) ด้านงบประมาณ คือ งบประมาณไม่เพียงพอในการปฏิบัติงานนอกพื้นที่  สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสืบเสาะและพินิจ คือให้มีการสอนงานด้วยระบบติวเตอร์  การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ แสวงหาความรู้จากคู่มือการปฏิบัติงาน และเข้ารับการอบรมความรู้หลักสูตรต่างๆ 

  2. แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ ส่วนใหญ่ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเห็นสอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์เชิงลึก คือ (1) ใช้ระบบการสอนงานด้วยระบบพี่เลี้ยง (2) พัฒนาระบบปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงานให้ทันสมัย (3) พัฒนาบุคลากรโดยจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน   (4) จัดทำคู่มือการเขียนรายงานการสืบเสาะในระดับสำนักงาน และ (5) พัฒนาศักยภาพและสมรรถนะด้วยการส่งเสริมให้พนักงานเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรที่จำเป็น

          This study aims (1) to investigate efficiency and problems of operating the pre-sentence investigation of probation officer, and (2) to identify guidelines to the efficiency of operating the pre-sentence investigation of probation officer. This qualitative study employs in depth - interview and the workshop as the main method of data collection in purposive sampling. The interview data was gathered from 14 persons of the government’s pre-sentence investigation probation officers who followed in the Act of section 56 from Provincial Probation Office in five provinces, i.e. Trat, Yasothon, Kalasin, Lampang, and Sumutsongkhram. Similarly, suggestions were also gathered from 10 person of the pre-sentence investigation probation officers in Loei and Sakon Nakhon Provincial Probation Office. There are two main aspects found in this study.


  1. In terms of efficiency and problems in the pre-sentence investigation, the results suggests four the major knowledge based on the pre-sentence investigation probation officers’ interview; (1) the knowledge of evidence collection process, (2) the knowledge of law, regulations, notification and operational manual, (3) the knowledge of risk analysis and trends in behavior improvements and, (4) the knowledge of weighing the empirical evidence.

               Regarding problems in operation of the pre-sentence investigation probation officers, there are four issues to be addressed. The first concerns workloads of the probation officers. In this connection, the pre-sentence investigation probation officers are responsible more than one job. Second, the process of documents drop-off is not within the timeline. Third, the office supplies are not adequate, i.e. computer. The fourth is the insufficiency of the budget in developing the officers’ knowledge and operation in outside area.  In the same way, the pre-sentence investigation officers need more budget to support themselves for the courses training, i.e. technology in the pre-sentence investigation.


  1. Other findings propose guidelines for the efficiency of probation officers’ pre-sentence investigation operations based on in-depth interview and the workshop. (1) Also, the tutor or coaching system should be introduced. (2) There should be an update on the operational manual system. (3)The officers should have regular meetings or workshop. (4) Additionally, the pre-sentence investigation report manual in the office should be necessarily established. (5)In the same time, the probation officers should be encouraged to be trained in their specialist field.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ