การประเมินความโปร่งใสของเว็บไซต์องค์การบริหารส่วนจังหวัด (An Assessment of Website Transparency of Provincial Administration Organizations)

Main Article Content

ภูริตา จันทรักษ์ (Phurita Chantharak)
กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์ (Grichawat Lowatcharin)

Abstract

            ความโปร่งใสเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของการจัดการปกครองที่ดี และเว็บไซต์เป็นช่องทางหนึ่งที่หน่วยงานของรัฐสามารถเสริมสร้างความโปร่งใสได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจเนื้อหาและประเมินระดับความโปร่งใสของเว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเป็นวิธีการวิจัยหลัก โดยได้ทำการวิเคราะห์และประเมินเนื้อหาของเว็บไซต์ อบจ. ทั้ง 76 แห่งทั่วประเทศ และใช้แบบประเมินเนื้อหาเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นตามกฎหมายและข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและความโปร่งใสของหน่วยงานของรัฐ นอกจากนั้น ผู้วิจัยยังได้จัดอันดับความโปร่งใสของเว็บไซต์ อบจ. ตามคะแนนรวมที่ได้จากแบบประเมิน


            ผลการวิจัยพบว่า เว็บไซต์ อบจ. ส่วนใหญ่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานความโปร่งใสของข้อมูลข่าวสารและตัวชี้วัดความโปร่งใสของหน่วยงานของรัฐ  ข้อมูลสารสนเทศที่ไม่มีการเปิดเผยหรือไม่ครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุดคือข้อมูลเกี่ยวกับการจัดหาพัสดุ คิดเป็นร้อยละ 74.3 ของเว็บไซต์ทั้งหมด  ส่วนข้อมูลสารสนเทศที่มีการเปิดเผย ครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นปัจจุบันมากที่สุดคือข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารงาน คิดเป็นร้อยละ 65.6 ผลการจัดอันดับความโปร่งใสของเว็บไซต์พบว่า เว็บไซต์ของ อบจ.กระบี่ มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนและเป็นปัจจุบันมากที่สุด โดยได้คะแนนร้อยละ 94.7 สำหรับแนวทางในการเสริมสร้างความโปร่งใสของหน่วยงาน ผู้บริหารและบุคลากร อบจ. ควรให้ความสำคัญแก่การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนและเป็นปัจจุบันบนเว็บไซต์ของหน่วยงานให้ประชาชนได้ทราบ และ อบจ.ควรจัดทำแนวทางหรือมาตรฐานร่วมในการจัดการเว็บไซต์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกมากขึ้น


 


           Transparency is an essential part of good governance and websites serve as a means for enhancing transparency. This article aimed at exploring the contents and transparency levels of the official websites of provincial administration organizations (PAOs) nationwide. The authors employed content analysis as a primary research method, analyzing and assessing the contents of 76 PAO websites. The authors developed an assessment checklist based on laws and regulations related to public agencies’ information disclosure and transparency.  The authors also ranked the PAOs based on their aggregated website transparency scores.


               Findings indicate that the majority of PAO websites do not disclose information as stipulated in the criteria for and indicators of public agencies’ transparency.  The most undisclosed and incomplete information on the websites is that of procurement: 74.3% of all websites do not meet the criteria.  The most disclosed and complete information is that of organizational structures: 65.6% of all websites provide the said information.  The website of Krabi Provincial Administration Organization ranks first in complete and up-to-date information disclosure, with a 94.7% score.  To enhance transparency, the PAO executives and staff members must place value on disclosing complete and up-to-date information on their websites.  The PAOs should also collectively set website standards that promote transparency and user-friendliness.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ