คนดอยสุเทพกับการจัดการน้ำเสียแบบมีส่วนร่วม (Kon Doi Suthep with Participation of Domestic Wastewater Management)

Main Article Content

มนตรี ยะราไสย์ (Montree Yarasai)
ชาคริต โชติอมรศักดิ (Chakrit Choteamonsak)

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการน้ำเสีย และระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเสียของคนดอยสุเทพ โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคนดอยสุเทพ จำนวน 156 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าทางสถิติ ได้แก่ ค่าการแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)  และการตรวจสอบสมมุติฐานความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการหาค่าความแปรปรวน (One Way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า โดยรวมคนดอยสุเทพส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการน้ำเสียในระดับปานกลาง ร้อยละ 62.8 และส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเสียในระดับน้อยที่สุด ร้อยละ 48.72 และจากการตรวจสอบสมมุติฐาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาที่อยู่อาศัยในชุมชนแตกต่างกัน มีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการน้ำเสียและระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการ  น้ำเสียไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น ควรมีการอบรมให้ความรู้ด้านการจัดการน้ำเสียอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้คนในชุมชนดอยสุเทพมีส่วนร่วมในลดของเสียจากแหล่งกำเนิดโดยแนวทาง 3Rs (Reduce, Reuse และ Recycle)   


 


               The aim research were the wastewater of management knowledge and the participation in wastewater management of Doi Suthep people by using data was a questionnaire from 156 sample population in Doi Suthep. The statistical tests used to analyze the collected data including frequency, percentage, means, standard deviation and the tests of one-way ANOVA. It was founded that respondents have knowledge about wastewater management at the moderate level of 62.8%, Participatory analysis of Doi Suthep people found that most of the participated in wastewater management at the lowest level at 48.72%. The differences in sex, age, occupation, education, monthly income, and length of stay in Doi Suthep community had no statistical significance of the level of wastewater management knowledge and level a participated in wastewater management at 0.05. Therefore, the training should be provided for the continuous management of wastewater and encourage people in Doi Suthep community to participate in reducing waste from their source by the 3Rs (Reduce, Reuse and Recycle)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ