การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำสำหรับเด็กด้อยโอกาสในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ (Optimizing Efficiency of the Project on Promoting Career and Employment for Disadvantaged Children of Bann Borkaew School,) Optimizing Efficiency of the Project on Promoting Career and Employment for Disadvantaged Children of Bann Borkaew School, Chiang Mai Province

Main Article Content

ศิราพร อรินแก้ว (Siraporn Arinkaew)
ยงยุทธ ยะบุญธง (Yongyouth Yaboonthong)
ธารณ์ ทองงอก (Than Thongngok)

Abstract

                 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ 1) เพื่อประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำสำหรับเด็กด้อยโอกาสในสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว จังหวัดเชียงใหม่  2) เพื่อศึกษาปัญหาและปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำสำหรับเด็กด้อยโอกาสในสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาการดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำสำหรับเด็กด้อยโอกาสในสถานศึกษา ของสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ 4) เพื่อจัดทำและตรวจสอบกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำสำหรับเด็กด้อยโอกาสในสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งมีการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพและการมีการมีงานทำ สำหรับเด็กด้อยโอกาสในสถานศึกษา มีการประเมิน 4 ด้าน ตามรูปแบบของ CIPP โดยประเมิน 1) ด้านบริบท 2) ด้านปัจจัย  3) ด้านกระบวนการ ประชากรและกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 44 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และด้านที่ 4) ด้านผลผลิต ประชากรและกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 208 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาปัญหาและปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำสำหรับเด็กด้อยโอกาสในสถานศึกษา ประชากรและกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 44 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ขั้นตอนที่ 3  การศึกษาการดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำสำหรับเด็กด้อยโอกาสในสถานศึกษา ของสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ ประชากรและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูหัวหน้าวิชาการ หรือผู้รับผิดชอบโครงการ ในสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 6 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปแบบอุปนัย  ขั้นตอนที่ 4 การจัดทำและตรวจสอบกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินโครงการ ประชากรและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ รวมทั้งสิ้น จำนวน 5 คน เครื่องมือ คือ แบบตรวจสอบ 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


               ผลการวิจัยพบว่า  1) ผลการประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพและการมีการมีงานทำสำหรับเด็กด้อยโอกาสในสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ 2) ปัญหาและปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำสำหรับเด็กด้อยโอกาสในสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ มีปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ปัญหาที่สำคัญ คือ การประสานงานขอความร่วมมือ ในส่วนของปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ วัสดุอุปกรณ์ และอาคารสถานที่ 3) การจัดทำกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินโครงการ มี 9 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1. การศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพ  2. การสร้างความเข้าใจผู้เกี่ยวข้อง 3. การจัดระบบสร้างข้อมูลโรงเรียน 4.การวางแผนดำเนินการ 5. การประชาสัมพันธ์  6. การประสานงานขอความร่วมมือ 7. การพัฒนาบุคลากร  8. การจัดการเรียนการสอน 9. การประเมินผลการใช้หลักสูตร ในแต่ละขั้นตอนมี 3 กระบวนการ คือ ขั้นตอนการเตรียมการ ขั้นตอนการดำเนินการ และขั้นตอนการประเมินผล และ 4) ผลการตรวจสอบกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำสำหรับเด็กด้อยโอกาสในสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ ทุกกระบวนการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้


 


                    The purposes of this research is 4. 1) to assess the project implementation on promoting career and employment for disadvantaged children of Bann Borkaew School in Chiang Mai Province; 2) to investigate the problems and support factors of the project implementation on promoting career and employment for disadvantaged children of Bann Borkaew School in Chiang Mai Province; 3) to study the project implementation on promoting career and employment for disadvantaged children in the schools with best practice; and 4) to arrange and examine the efficiency optimizing process of the project implementation on promoting career and employment for disadvantaged children of BannBorkaew School in Chiang Mai Province. There were 4 steps of the study. Step 1 was to assess the project implementation on promoting career and employment for disadvantaged children in the school  form using CIPP evaluation model. The assessment was on contexts, factors, and processes. There were 44 informants: school administrators, teachers , school officers, and basic education commission. The questionnaire was used as an instrument and the data were analyzed in frequency, percentage, means, and standard deviation. In addition, the assessment of productivity was conducted with 208 informants: school teachers and school officers, students’ parents in junior secondary level, and students in junior secondary level. The questionnaire was used and the data were analyzed in percentage, means, standard deviation and frequency. Step 2 was to investigate problems and support factors of the project implementation on promoting career and employment for disadvantaged children in the school. There were 44 informants: school administrators, teachers, school officers, and basic education commission. The questionnaire was used as an instrument and the data were analyzed in frequency, percentage, means, and standard deviation. Step 3 was to study the project implementation on promoting career and employment for disadvantaged children in the schools with best practice. Six informants were specifically selected from administrators, academic teachers or project managers in the schools with best practice. The instrument was the structured interviewed and the data analysis was concluded in an inductive format. Step 4 was to arrange and examine the efficiency optimizing process of the project implementation. Five informants were specifically selected. The instrument was an examination form with the 5-level rating scale, and the data were analyzed into means and standard deviation.


            The results of the study are presented in the following items. 1) The overall result of the project implementation on promoting career and employment for disadvantaged children of Bann Borkaew School in Chiang Mai Province was at the average level which failed to meet the given assessment criteria. 2) According to the problems and support factors of the project implementation on promoting career and employment for disadvantaged children of Bann Borkaew School in Chiang Mai Province, the result of the overall problems was at the average level. The main implementation problem was found on the lack of cooperation. The support factors of the project implementation were assessed at the average level with the most important factor on material, equipment and buildings. 3) The efficiency optimizing process of the project implementation on promoting career and employment for disadvantaged children of Bann Borkaew School in Chiang Mai Province was arranged in 9 steps: 1. potential analysis, 2. building of stakeholder’s understanding, 3. school data system installment, 4. action plan, 5. public relation, 6. cooperation request, 7. staff development, 8. teaching and learning, and 9. curriculum evaluation. Each step consisted of 3 processes: preparation, implementation, and evaluation. 4) The overall result of examining the efficiency optimizing processes of the project implementation on promoting career and employment for disadvantaged children of Bann Borkaew School in Chiang Mai Province were found at the highest level, i.e. higher than the given evaluation criteria.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ