การประยุกต์ใช้ความรู้จากการฝึกอบรมและสมรรถนะในการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ (The Application of Training Knowledge and the Competency Strategic Implementation)

Main Article Content

สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ (Somboon Sirisunhirun)
วุฒิชัย อารักษ์โพชฌงค์ (Wuthichai Arakpothchong)
ฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์ (Thitikorn Yawichai Jarueksil)

Abstract

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการประยุกต์ใช้ความรู้จากการฝึกอบรมในเชิงการพัฒนาการทำงานของผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน: กำลังเสริมเชิงยุทธศาสตร์เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน” 2) ศึกษาสมรรถนะในการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ของผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมฯ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะและความต้องการในการขอรับความช่วยเหลือด้านวิชาการต่อเนื่องจากโครงการฝึกอบรมของผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมฯ และ 4) ศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการประยุกต์ใช้ความรู้จากการฝึกอบรมในเชิงการพัฒนาการทำงานและสมรรถนะในการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ของผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมฯ โดยใช้เครื่องการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ความรู้จากการฝึกอบรมและสมรรถนะในการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ของผู้ผ่านการอบรมโครงการฯ ประชากรในการวิจัย คือ ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมฯ รุ่นที่ 10 – 15 (ระหว่างปี พ.ศ. 2553 - พ.ศ.2555) จำนวน 188 คน โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และใช้สถิติเชิงพรรณาด้วยวิธีหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีการประยุกต์ใช้ความรู้จากการฝึกอบรมในเชิงการพัฒนาการทำงานอยู่ในระดับมาก ( = 3.97, S.D. = 0.52)  2) ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีสมรรถนะในการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ของผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก ( = 3.55, S.D. = 0.69) 3) ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมฯ ส่วนใหญ่ประสบปัญหาหรืออุปสรรคการประยุกต์ใช้ความรู้ประเด็นการประเมินผลการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 86.49 รองลงมา คือ ปัญหาหรืออุปสรรคการประยุกต์ใช้ความรู้ประเด็นการแปลงแผนสู่การปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ 78.37  และประเด็นการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย คิดเป็นร้อยละ 67.57 และผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมฯ ต้องการให้โครงการฝึกอบรมฯ พัฒนาความรู้ ทักษะและสมรรถนะด้านการบริหารสำหรับนักบริหารระดับหัวหน้างาน ด้านภาวะผู้นำ ด้านการบริหารงานทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ ด้านการกำหนดตัวชี้วัดและการประเมินผลการดำเนินงาน ด้านการวางแผนทางการเงินและด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุการทำงานที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อการประยุกต์ใช้ความรู้จากการฝึกอบรมในเชิงการพัฒนาการทำงานที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Sig. 0.017) 2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพบุคลากรและอายุการทำงานที่แตกต่างกันจะไม่ส่งผลต่อสมรรถนะในการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ของผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมที่แตกต่างกัน ซึ่งมีการอภิปรายผลวิจัยและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นประเด็นในการพัฒนาการจัดโครงการฯ ต่อไป


 


                This research aimed to 1) study the application of training knowledge on work development of the participants of “ The University Support Staffs’ Competence Development Workshop: The Strategic Reinforcement for Competitive Advantages”, 2) study the competence in strategic implementation of the workshop participants, 3) study the workshop participants’ problems, obstacles, recommendations, and needs for continuous receipt of the academic assistance from the workshop, and 4) study difference between personal factors and the application of training knowledge on work development and the competence in strategic implementation of the workshop participants.  The research tool was the questionnaires about the application of training knowledge and the competence in strategic implementation of the workshop participants.  The research populations consisted of 188 workshop participants during 2010 – 2012.  Data were analyzed by using the statistics of frequency, percentage, mean, standard deviation, and SPSS.  The research results show the followings: 1) The workshop participants applied the training knowledge on work development at a high level             ( = 3.97, S.D. = 0.52).  2)  The competence in strategic implementation of the workshop participants was at a high level ( = 3.55, S.D. = 0.69).  3)  The workshop participants faced the problems of knowledge application on implementation evaluation by 86.49%, plan implementation by 78.37%, and determination of indicators and goal values by 67.57%.  The workshop participants wanted the workshop to develop chiefs’ knowledge, skills, and competence in management, leadership, strategic management of human resources, indicator determination, implementation evaluation, financial planning, and educational quality assurance. 1) Different personal factor on work duration significantly caused different application of the training knowledge on work development at the level of 0.05 (Sig. 0.017). 2) Different personal factors on gender, age, education, status, and work duration did not cause different competence in strategic implementation of the workshop participants. The research results were discussed and the recommendations were given for developing the workshop organizing.


 


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ