การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (The Curriculum Evaluation on Master Degree Program of Education in Teaching Social Studies, Faculty of Education Silpakorn University)

Main Article Content

สรภัส น้ำสมบูรณ์ (Sorapas Namsomboon)
สมประสงค์ น่วมบุญลือ (Somprasong Nuamboonlue)
อนงค์พร สมานชาติ (Anongpon Samanchart)
อนัน ปั้นอินทร์ (Anan Punin)
ชัยรัตน์ โตศิลา (Chairat Tosila)
กัลยา เทียนวงศ์ (Kanlaya ienwong)

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมิน (Evaluative research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรในด้านบริบทของหลักสูตร ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของหลักสูตร และ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) นักศึกษาสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา 2)  อาจารย์ประจำหลักสูตร/ อาจารย์ผู้สอน และ 3) ผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษาของอาจารย์ นักศึกษา และแบบสัมภาษณ์ของผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา


               ผลการวิจัย พบว่า


  1. ผลการประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ภาพรวมของอาจารย์ และนักศึกษาโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้าของหลักสูตรมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านกระบวนการของหลักสูตรมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ด้านบริบทของหลักสูตรมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก และด้านผลผลิตระหว่างทางของหลักสูตรมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

  2. ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษาของนักศึกษา อาจารย์ และผู้บริหาร พบว่า 2.1) ด้านบริบทของหลักสูตรอาจารย์และนักศึกษามีข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) หลักสูตรต้องมีความทันสมัย สอดคล้องกับเทคโนโลยี และบริบททางด้านสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และสอดคล้องกับหลักสูตรสังคมศึกษาในระดับนานาชาติ (2) ควรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญทางด้านการสอนสังคมศึกษา และสามารถนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติได้จริง 2.2) ด้านปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร อาจารย์และนักศึกษามีข้อเสนอแนะ ได้แก่รายวิชาควรมุ่งเน้นพัฒนามโนทัศน์ที่ครอบคลุมสาระทางสังคมศึกษา และควรกำหนดจำนวนหน่วยกิตในแต่ละรายวิชาให้เหมาะสม อีกทั้งนักศึกษามีข้อเสนอแนะคือควรให้นักศึกษาได้สามารถเลือกรายวิชาเลือกได้ตามความสนใจ และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ควรมีช่องทางที่หลากหลายในการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ และควรจัดให้มีระบบอินเทอร์เน็ตที่สามารถใช้งานได้ทั่วถึง นอกจากนั้นอาจารย์และ ผู้บริหารมีข้อเสนอแนะถึงการจัดให้มีห้องสมุดประจำคณะ 2.3) ด้านกระบวนการของหลักสูตร อาจารย์มีข้อเสนอแนะ ได้แก่ การพัฒนาระบบและกลไกในการติดตามความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา และนักศึกษาได้เสนอถึงการจัดการเรียนรู้ด้วยการศึกษานอกสถานที่ และ 2.4) ด้านผลผลิตของหลักสูตร อาจารย์มีข้อเสนอแนะ ได้แก่การพัฒนาระบบและกลไกให้นักศึกษาจบตามระยะเวลาหลักสูตร

         This study was conducted in evaluative research. The objectives of the study were 1) to evaluate the curriculum on master degree program of education in Teaching Social Studies, Silpakorn University by assessing curriculum context, input, process, and mid-program product factors; and 2) to study guidelines for curriculum development on master degree program of education in Teaching Social Studies. Research samples comprised 1) students of teaching social studies program, 2) curriculum lecturers, and 3) executives of Faculty of Education. Data were collected by a curriculum evaluation questionnaire for students and lecturers as well as an interview form was used for executives, lecturers, and students. Data were analyzed using descriptive statistics; frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis.


               The findings of the study were as follows.


  1. The overall curriculum evaluation result in perspective of lecturers and students showed high level of suitability. To consider in component factors, it was found input factor showed the highest level while curriculum context, process and product factors showed high level respectively.

 


  1. The guidelines for curriculum development on master degree program of education in Teaching Social Studies gathered from administrators, teachers and students are as follows. 2.1) For curriculum context factor indicated recommendations for (1) a modern curriculum which is consistent with technology and social change context as well as with Social Studies curriculum of international and (2) a curriculum which emphasized on students’ knowledge, skills and Social Studies instructional profession and application. 2.2) For curriculum input factor indicated recommendations for subjects provided in the program must develop students’ Social Studies concept and have proper credits, students have free selection for elective subjects of their interested, advisors should provide variety channels for thesis consults, and internet system should be available in classroom and faculty library. 2.3) For curriculum process factor, teachers recommended the development of system and mechanism for students’ thesis monitoring, also students recommended field trip learning activities. 2.4) For curriculum output  factor, teachers recommended for system development and protocol for graduation timeline.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ