กระบวนการส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของหมู่บ้านเกษตร เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จ. เพชรบุรี (The Process of Enhancing the Quality of Life According to Sufficiency Economy Philosophy in Prepara The Process of Enhancing the Quality of Life According to Sufficiency Economy Philosophy in Preparation for Entering into the Elderly Society of the Sufficiency Economy Village, Phetchaburi Province.

Main Article Content

สิริชัย ดีเลิศ (Sirichai Deelers)
ศิริรัตน์ สีดา (Sirirat Seeda)

Abstract

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของหมู่บ้านเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จ.เพชรบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study Approach) ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) และการเลือกแบบการอ้างอิงต่อเนื่องปากต่อปาก (Snowball Sampling) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง มีผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 10 ราย เป็นผู้นำชุมชน 1 ราย และสมาชิกในชุมชน 9 ราย ที่มีอายุก่อนและหลัง 60 ปีบริบูรณ์ พบว่า ชุมชนมีการจัดการรูปแบบและกระบวนการที่มีแนวทางการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับชุมชนเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตคือ 1) การศึกษาและรวบรวมปัญหาโดยเริ่มต้นที่ผู้นำชุมชนพบปัญหาในภาพรวม 2) การสร้างองค์ความรู้ให้สมาชิกในชุมชน 3) การสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน 4) การติดตามการดำเนินงานโครงการกู้ยืมระดับบุคคล 5) ประสิทธิผลในการดำเนินงาน ด้วยการวัดผลการดำเนินงานในภาพรวม และการวัดผลการปฏิบัติหรือดำเนินโครงการของคนในชุมชน เป็นการรับรู้และการวัดผลของผู้ให้ข้อมูลหลักในการบริหารจัดการการวางแผนการออมที่มีผลต่อสภาพคล่องทางการเงิน และคุณภาพชีวิต รวมถึงพฤติกรรมในการบริหารจัดการการจัดทำบัญชีครัวเรือน โดยยึดแนวทางในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


 


                     The aim of this research was to study the patterns and processes to improve quality of life in the aging society of the sufficiency economy village, Phetchaburi. This research was qualitative research, case study approach. In this study, the researcher selected the primary informant as purposive sampling and snowball sampling applied in depth interview that semi-structured. A total of 10 key informants consisting of one person of community leaders and nine persons of community members. The results of the study found that, community management forms and processes which have guided the development of the principles of the sufficiency economy philosophy to adapt to the community in developing and quality support of life: 1.) The problems, the community leaders awareness of the overall problem is that the farming community 2.) Create knowledge for community members 3) Establishing the participation 4.) Monitoring the implementation of the individual loan 5.) Operational effectiveness by the overall performance and the performance or implementation as perception of key informants in managed savings planning have a bearing on financial liquidity and quality of life include behavior in household account management based on sufficiency economy philosophy.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ