การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติต่อการเรียน เรื่อง การบริหารผู้มี ความสามารถสูง วิชาหัวข้อเฉพาะทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของนักศึกษา สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้วิธีจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนกับ การจัดการเรียนรู้แบบปกติ (A Comparison of- A Comparison of learning achievement, attitude to learn on talent management in Special topics in human resource management of Human resource major students by Group investigation (GI) and Conventional approaches

Main Article Content

ชวลิต ศุภศักดิ์ธำรง (Chavalit Supasaktumrong)

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ คือ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบริหารผู้มีความสามารถสูง วิชาหัวข้อเฉพาะทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้วิธีจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนกับการจัดการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 2. เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาหัวข้อเฉพาะทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้วิธีจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนกับการจัดการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาหัวข้อเฉพาะทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การบริหารผู้มีความสามารถสูง โดยใช้วิธีจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนกับการจัดการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การบริหารผู้มีความสามารถสูง  และแบบวัดเจตคติที่มีต่อวิชาหัวข้อเฉพาะทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณ


            ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาหัวข้อเฉพาะทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบสวนดีกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


 


              The purpose of this research were to find a comparison of learning achievement on talent management in Special topics in human resource management of human resource major students by using Group investigation and Conventional approaches and to find a comparison attitude to learn in Special topics in human resource management of human resource major students by using Group investigation and Conventional approaches. The sample were 40 students enrollment of Faculty of Management Science enrolled in Special topics in human resource management course. The research instruments composited of learning management plan on topic “talent management” using Group investigation and Conventional approaches, achievement test, and attitude to use Group investigation and Conventional approaches. The statistics employed for data analysis were mean, standard deviation, multivariate analysis of variance (MANOVA), and multivariate analysis of covariance (MANCOVA).


               The finding revealed the following: the students study to use group investigation were higher learning achievement, and attitude to learn in special topic in human resource management with statistically significant level of .01.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ