การบริหารจัดการจิตสำนึกการให้บริการของบุคลากรของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี (Administration Of Service-Minded Of The PersonnelIn Municipalities Of Pathumthani Province)

Main Article Content

อรทิณี ทวยนาค (Onthinee Thuynak)
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ (Wiruch Wiruchnipawan)

Abstract

               การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษา (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการของบุคลากรของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการของบุคลากรของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี (3) ศึกษาปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการจิตสำนึกการให้บริการของบุคลากรของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานีประสบความสำเร็จ และ (4) ตัวแบบการบริหารจัดการจิตสำนึกการให้บริการของบุคลากรของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี โดยมีระเบียบวิธีวิจัยของการศึกษาใช้วิธีการวิจัยแบบผสมโดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเสริม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยกลุ่มประชากรเป็นประชาชนทั้งหมดในเขตพื้นที่เทศบาลในจังหวัดปทุมธานี สำหรับวิธีวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการถดถอยพหุคูณ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเชิงลึก


               ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญคือ บุคลากรของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานีมีความละอายหรือเกรงกลัวต่อการใช้อำนาจหน้าที่ในการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวไม่มากเท่าที่ควร   (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่สำคัญคือ บุคลากรของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานีควรปฏิบัติงานให้บริการประชาชนด้วยจิตสำนึกของการให้บริการที่ละอายหรือเกรงกลัวต่อการใช้อำนาจหน้าที่ในการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว และควรสร้างตัวแบบการบริหารจัดการจิตสำนึกการให้บริการของบุคคลากรของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี (3) เทศบาลในจังหวัดปทุมธานีควรสร้างและนำตัวแบบการบริหารจัดการจิตสำนึกการให้บริการของบุคลากรของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานีตามแนวคิดพระพุทธเจ้าไปปรับใช้เป็นกลุ่มตัวชี้วัดสำคัญของการปฏิบัติงาน และนำไปสู่การปฏิบัติจริงอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งนำไปพัฒนาต่อยอดต่อไปในอนาคตอีกด้วย โดยตัวแบบที่ได้นั้นประกอบด้วย 4 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ ด้านความละอายที่จะทำสิ่งไม่ดี ความเสียสละ ความอดทน และความซื่อสัตย์สุจริต


 


            Objectives of this study were mainly to explore (1) problems of administration, (2) development guidelines of administration, and (3) administrative model of service-minded of the personnel in municipalities of Pathumthani Province. Methodology of this research was designed the research design as mixed methods research applying quantitative research as a principal and qualitative research as a supplementary. The quantitative research was survey with questionnaires. Population was living in the areas of municipalities in Pathumthani Province. Data analysis was represented with descriptive approach. Descriptive Statistics exercised were percentage, mean, standard deviation, multiple regression, and Pearson's Correlation Coefficient. For qualitative data, in-depth interview of experts.


               Findings of this research were (1) the main problem was the municipalities’ insufficient service-minded of the personnel particularly on the shame or fear to exercise their authority in seeking of their own benefits, (2) the main development guidelines of administration were the personnel of the municipalities in Pathumthani province should increasingly perform their service-minded in terms of shame or fear to exercise their authority in seeking of their own benefits. Moreover, the administrative model should also be created for administration of service-minded of the personnel in municipalities in Pathumthani province, (3) the municipalities in Pathumthani Province should create and apply the administrative model of service-minded of the personnel according to the Buddha Concept as the Key Performance Indicators and implement practically and continuously. Further model development should also be done. The administrative model should significantly consist of 4 aspects include shame to do bad things, sacrifice, tolerance, and honesty.


 


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ