การใช้เฟซบุ๊กเพื่อการเรียนการสอน: การสังเคราะห์งานวิจัยในบริบทสังคมไทย (Synthesis of research on the aspects of Facebook implementation in teaching and learning of Thailand social context)

Main Article Content

อาฟีฟี ลาเต๊ะ (Afifi Lateh)

Abstract

                    การสังเคราะห์งานวิจัยที่ได้นำสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กไปใช้ในการเรียนการสอนตามบริบทสังคมไทยพบบทความวิจัยเพียง 5 ฉบับ การสังเคราะห์ได้ใช้แบบบันทึก และแบบประเมินคุณภาพบทความวิจัยเพื่อสังเคราะห์เชิงคุณลักษณะ นำไปสู่การสรุป และเปรียบเทียบความเหมือน ความต่างของบทความวิจัยโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการสังเคราะห์พบว่านักวิจัยในประเทศไทยไม่ค่อยได้นำเฟซบุ๊กไปใช้ในการเรียนการสอนซึ่งให้ผลที่สวนทางกับจำนวนบัญชีผู้ใช้ในประเทศที่มีจำนวนมากเป็นอันดับ 8 ของโลกรวมทั้งปรากฏต้นสังกัด และพบวารสารที่ตีพิมพ์บทความที่มาจากคณาจารย์ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เพียง 1 ฉบับ การประเมินคุณภาพบทความวิจัยจาก 15 ประเด็นพบว่า ประเด็นความเป็นมาและความสำคัญของปัญหามีความชัดเจน สะท้อนถึงความสำคัญกับเรื่องที่ทำวิจัย สมมติฐานการวิจัยถูกต้องตามหลักการวิจัย ผลที่คาดว่าจะได้รับให้รายละเอียดเชื่อมโยงกับเรื่องที่ทำวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัยสะท้อนถึงตัวแปรต้น ตัวแปรตามในเรื่องที่ทำวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลมีความชัดเจน ผลการวิจัยมีรูปแบบการนำเสนอได้ชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย รวมทั้งข้อเสนอแนะให้รายละเอียดที่สามารถต่อยอดงานวิจัยในอนาคตได้ สำหรับการกำหนดคำสำคัญจากบทความวิจัย และการตั้งชื่อเรื่องนั้น โดยส่วนใหญ่ไม่สะท้อนถึงการนำเฟซบุ๊กไปใช้จึงทำให้สารสนเทศที่ได้จากการสืบค้นเข้าถึงได้ลำบาก บางเรื่องเขียนไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยทำให้ตีความได้หลายทิศทาง การอภิปรายผลโดยส่วนใหญ่มักอภิปรายอิงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปถึงความสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับงานวิจัยที่ได้ในครั้งนี้ มีเพียงบางบทความวิจัยที่ได้นำทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาอภิปรายร่วมด้วย


 


                       The synthesis of research on the aspects of Facebook implementation in teaching and learning of Thailand social context found only five research papers. A recording and evaluation form for qualitative synthesis to summary and comparison of similarity and dissimilarity of research articles using content analysis techniques. The synthesis found that researchers in Thailand rarely use Facebook for learning and teaching, which opposite results of the number of accounts in the country which were eight places in the world, and only one article appearance from the author at faculty of education. Evaluation of the quality of research articles from 15 issues found that the background and significance of the problem was clear; reflect on the importance of research, research hypothesis was based on research principles, expected results will be given to the details associated with the research title ,the research framework reflects early variables, variables based on research title, data collection was clear, research results were clearly presented and consistent with research objectives including suggestions for future research. On the other hand, the key words from research articlesand naming it most do not reflect the use of Facebook, so the information obtained from the query was difficult, some writings were inconsistent with the purpose of the research, and so many interpretations were possible. Moreover, most of the discussions were often based on relevant research to conclude whether or not consistent with the research, there were only some research articles that have brought the relevant theories together.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ