ทัศนคติต่อรายวิชาสถิติของกลุ่มผู้เรียนระดับพื้นฐาน ระดับกลาง และระดับใช้งาน (Attitudes towards statistics course among basic, intermediate, and advance learners)

Main Article Content

อาฟีฟี ลาเต๊ะ (Afifi Lateh)

Abstract

                      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อรายวิชาสถิติของกลุ่มผู้เรียนระดับพื้นฐาน ระดับกลาง และระดับใช้งาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต และระดับบัณฑิตศึกษา ครู อาจารย์ และนักวิจัยที่เป็นเพื่อนกับผู้วิจัยในเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กจำนวน 163 คน ได้มาด้วยวิธีการแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสำรวจทัศนคติต่อรายวิชาสถิติที่แปลจาก SATS-36 ของ Schau (2003) และ 2) แบบบันทึกเกี่ยวกับทัศนคติต่อรายวิชาสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับทัศนคติทั้ง 6 ด้านระหว่างกลุ่มผู้เรียน 3 กลุ่มด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบพหุ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติทั้ง 6 ด้านด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน รวมทั้งวิเคราะห์เนื้อหาจากบันทึกเกี่ยวกับทัศนคติต่อรายวิชาสถิติ ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นระหว่างกลุ่มผู้เรียน 3 กลุ่มในด้านความมุ่งมั่นในการเรียนวิชาสถิติ ด้านความยากง่ายของวิชาสถิติ และด้านความน่าสนใจของวิชาสถิติมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นในด้านความรู้สึกที่มีต่อวิชาสถิติ ด้านความสามารถทางปัญญาในการเรียนวิชาสถิติ และด้านการเห็นคุณค่าต่อวิชาสถิติมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และยังพบว่ากลุ่มผู้เรียนที่รู้สึกดีต่อวิชาสถิติก็มีแนวโน้มที่จะแสดงออกทางความสามารถทางปัญญา และเห็นคุณค่าต่อวิชาสถิติในระดับดีด้วย รวมทั้งกลุ่มผู้เรียนที่เห็นว่าวิชาสถิติเป็นวิชายากแต่มีความน่าสนใจก็มีแนวโน้มที่จะมุ่งมั่นหรือทุ่มเทในการเรียนตามไปด้วย


 


                    The purpose of this research was to study attitudes towards statistics course among basic, intermediate, and advance learners. The sample was 163 Facebook social network friends with researcher including undergraduate and graduate students, teachers, and researchers came up with quota sampling techniques. The tool instruments used in the study included: 1) a survey of attitude toward statistics translated from Schau's SATS-36 (2003); and 2) a record of attitudes toward statistics. Data analysis tools used in research with mean and standard deviation, the mean difference analysis of attitudes to the group learners with multivariate analysis of variance, correlation between six of attitudes by Pearson’s correlation, and learning blog records by the learners. The results show that the mean score between three groups of learners on the effort, difficulty, and interest of statistics subject was not significantly different. While the average level of attitudes towards the statistics subject on the affective, cognitive competence, and value was statistically significant difference. It also found that the group of learners who felt good about statistics was more likely to express their intellectual abilities and appreciate the statistics on a good level. Moreover, the group of students that felt the statistics as difficult and interest was likely to commit or try to devote themselves to the study of statistics.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ