การพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวในครอบครัวหย่าร้างด้วยการปรึกษาเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคโดยใช้ทฤษฎีเป็นฐาน (The Development Of Family Quality Of Life In Family Divorces Through Assimilative Integrative Counseling.)

Main Article Content

ฐิติรัตน์ คล่องดี (Titirat Klongdee)
เพ็ญนภา กุลนภาดล (Pennapha Koolnaphadol)
ประชา อินัง (Phacha Inang)

Abstract

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตครอบครัวในครอบครัวหย่าร้าง  และ 2. เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคในครอบครัวหย่าร้าง แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มาจากครอบครัวหย่าร้างและอาศัยอยู่กับบิดาหรือมารดาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต  10 ในจังหวัดเพชรบุรี   กลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนที่ 1 ใช้ศึกษาคุณภาพชีวิตครอบครัวในครอบครัวหย่าร้าง  จำนวน  1,000 คน เป็นนักเรียน จำนวน 500 คน และบิดาหรือมารดา จำนวน 500 คน  ได้มาจากการใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน  กลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนที่  2  จำนวน 24 ครอบครัว สุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 ครอบครัว  กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคการปรึกษา จำนวน 12 ครั้ง ๆ ละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดคุณภาพชีวิตครอบครัวมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94  และโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคการปรึกษา โดยใช้รูปแบบการทดลองแบบทางเดียวเมื่อมีการวัดซ้ำ แบ่งการทดลองออกเป็น 4 ระยะ คือ ก่อนทดลอง ทดลอง หลังการทดลองและติดตามผล การวิเคราะห์ข้อมูล ค่าสถิติขั้นพื้นฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 และสถิติทดสอบความแปรปรวนแบบมีการวัดซ้ำ  ผลการศึกษาวิจัย สรุปได้ดังนี้


  1. คุณภาพชีวิตครอบครัวในครอบครัวหย่าร้าง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.73   โดยด้านความอยู่ดีมีสุขด้านร่างกายมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  3.05  รองลงมาคือด้านปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว อยู่ในระดับปานกลาง  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  2.90  ด้านความอยู่ดีมีสุขด้านอารมณ์ อยู่ในระดับปานกลาง  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  2.72  ด้านการสนับสนุนสิ่งที่สมาชิกครอบครัวไม่สามารถกระทำได้ อยู่ในระดับปานกลาง  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  2.61 และด้านความเป็นพ่อแม่ อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  2.39  ตามลำดับ

  2. คุณภาพชีวิตครอบครัวในครอบครัวหย่าร้างกลุ่มทดลองหลังการเข้าร่วมการให้การปรึกษาครอบครัวและเมื่อสิ้นสุดการติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. คุณภาพชีวิตครอบครัวในครอบครัวหย่าร้างกลุ่มทดลองหลังการเข้าร่วมการให้การปรึกษาครอบครัวและเมื่อสิ้นสุดการติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

        The purposes of this research were: 1) to study the family quality of life in divorced family, and 2) to study the effects of assimilative integrate counseling on family quality of life in divorced family. The sample consisted of secondary education students from divorced family who stayed with father or mother and studied in the secondary school under the Secondary Educational Services Area Office 10 in Phetchaburi province. The samples of this study were divided into 2 groups. The first group was for studying family quality of life,consisted of 1,000 samples comprised of 500 of students and 500 fathers or mothers. They were selected by multi-stage sampling from the population. The second group of the study were 24 divorced families who were selected by simple random sampling and were assigned into two groups, the experiment group and a control group with 12 divorced families in each group. The experiment group participated in assimilative integrate counseling while the control group did not receive any counseling. The intervention lasted for 12 sessions of 60 minutes duration. The research instruments were the family quality of life questionnaire with the coefficient reliability (α-Coefficient) of 0.94 and the interventional program of assimilative integrate counseling on family quality of life in divorced family. The research design was one-way repeated measure design. The study was divided into 4 phases: the pre-test phase, the post-test phase, the implementation phase, and the follow-up phase. The obtained data were analyzed with of descriptive statistics, second order confirmatory factor analysis, and repeated measures analysis of variance.


            The research results were as follows:


  1. All components of family quality of life in divorced family were at a moderate level with an average of 2.73, ranging from physical well being aspect, interactions in the family aspect, emotion well-being aspect, support for what family members cannot do aspect, and parent aspect with the mean of 3.05, 2.90, 2.72, 2.61, and 2.39, respectively.

  2. The family quality of life average score in the experimental group in the post-test and follow-up phases were higher than the pre-test phase statistically significant different at .05 level.

  3. The average score of family quality of life in the experimental group was higher than the control group with statistically significant different at .05 level when measured in the post-test and follow-up phases.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ