คุณภาพการให้บริการของรถโดยสารสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร (Quality of public bus service for the elderly in Bangkok)

Main Article Content

วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ (Viroj Jadesadalug)
ปริญญานันท์ ฉั่วกุล (Parinyanan Chuakun)

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการของรถโดยสารสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากผู้สูงอายุที่ใช้รถโดยสารสาธารณะเป็นประจำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 10 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์และการสังเกต รวมกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง


             ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการให้มีการให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆของรถโดยสารสาธารณะที่มีการระบุหรือติดไว้ที่ตัวรถและจุดจอดรถทุกแห่ง ส่วนทางด้านสถานีหรือจุดจอดรถ อยากให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น เช่น ที่นั่งรอรถโดยสารในแต่ละจุดจอด ทางเดินที่มีราวเกาะและพื้นไม่ลื่น ห้องน้ำประจำจุดจอดหรือสถานี และสภาพแวดล้อมที่ต้องสะอาด การให้บริการเกี่ยวกับความปลอดภัย โดยตัวรถต้องมีการปรับปรุง ดูแลรักษาตลอดเวลา และพนักงานขับรถต้องมีมาตรฐานในการเลือกเข้ามาขับรถหรือแนวทางการปฏิบัติตัวในการขับรถ อีกทั้งต้องมีอุปกรณ์นิรภัยที่ไว้ใช้สำหรับเวลาเกิดอุบัติเหตุที่มีมาตรฐาน มีการดูแล และต้องมีการติดตั้งประจำรถทุกคัน และเรื่องการให้บริการในด้านพนักงานที่ให้บริการ ทั้งพนักงานขับรถและพนักงานเก็บเงินต้องมีการพฤติกรรมที่ดีต่อผู้สูงอายุและปฏิบัติตามกฎระเบียบ กฎเกณฑ์ อีกทั้งต้องมีมาตรฐานในการทำงานอย่างเคร่งคัด


             ผลการศึกษา ข้อสรุป และข้อเสนอแนะของงานวิจัยในครั้งนี้สามารถนำไปเป็นประโยชน์ต่อ กระทรวงคมนาคม องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ บริษัท ขนส่ง จำกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาและปรับปรุงวิธีการดำเนินงานและแผนงาน รวมถึงการนำงานวิจัยในครั้งนี้ที่ศึกษาที่ประเด็นต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุไปใช้ในอนาคต


 


             The purpose of this research was study the quality of public bus service for the elderly living in Bangkok. This research was qualitative research by Purposive sampling. The study was conducted by 10 elderly people who regularly provided public buses in the Bangkok area. The data were collected by interview method, observation and study of related documents.


             The study found that most elderly wanted the public transport information to be identified or attached to the vehicle and the parking lot. The station or parking that they would like to have more amenities such as bus seats at each parking spot, the pathway had a handle, the floor was not slippery, parking spot had a toilet station and the environment was clean. The most elderly wanted Security Services was better by improving the bus. Improving the bus was treatment all the time and the driver must have a standard in driving or driving practices. They also need safety equipment that was used for accidents at standard, caring and must be attached to every bus. Both drivers and cashiers must have good behavior towards the elderly and abide by the rules and regulations, as well as strict standards of work.


             The result, conclusions, and suggestions of this research paper could be useful to Ministry of Transport, Bangkok Mass Transit Authority, Transport Company and related organizations involved in developing and improving operational procedures and plans. Including the research in this study at various points that was useful for the elderly to use in the future.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ