ระดับทักษะทางสติปัญญาด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียนที่จบการศึกษาในระดับ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ณ โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง (Environmental Cognitive Skills Level of Students who Graduated from a Lower Secondary School in Rayong)

Main Article Content

ธีรดา หลงศิริ (Teerada Longsiri)
ศุภิกา วานิชชัง (Supika Vanitchung)
มนัส บุญประกอบ (Manat Boonprakob)
จรรยา ดาสา (Chanyah Dahsah)

Abstract

                ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นทั้งในระดับชุมชนและระดับโลก สาเหตุสำคัญ คือการขาดทักษะทางสติปัญญาด้านสิ่งแวดล้อม จากการสำรวจระดับทักษะทางสติปัญญาด้านสิ่งแวดล้อม ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 119 คน ณ โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง ด้วยแบบวัดทักษะทางสติปัญญาด้านสิ่งแวดล้อม  ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบอัตนัยโดยใช้การกำหนดสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสังคม พบว่า นักเรียนมีระดับทักษะทางสติปัญญาด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับพอใช้ กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถระบุหรืออธิบายสาเหตุและผลกระทบในประเด็นทางสิ่งแวดล้อมได้ สร้างการตัดสินใจโดยอ้างอิงข้อมูลหลักฐานแต่ยังไม่สมเหตุสมผล และยังไม่สามารถออกแบบแผนงานโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องได้


 


                  The environmental problems have become more serious in both regional and global levels. The main factor is the lack of environmental cognitive skills. This study explored environmental cognitive skills of 119 Grade 10 students in Rayong province using open-ended questions regarding the socio-environmental issues. The results suggested that students’ environmental cognitive skills were at moderate level which indicated that the students could identify and explain cause and effect relationships on environmental issues, but could not make reasonable evidence based decisions and correct scientific method plans.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ