การเสริมสร้างศักยภาพการผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ด้วยตัวแบบการประเมินความเสี่ยงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ (The Reinforcement of production for One Tambon One Product with Risk Assessment Model toward Philosophy of-) The Reinforcement of production for One Tambon One Product with Risk Assessment Model toward Philosophy of the Sufficiency Economy in Bang Bo District, Samut Prakan Province

Main Article Content

นพวรรณ วิเศษสินธุ์ (Noppawan Wisedsind)

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงและเสนอแนวทางเสริมสร้างศักยภาพในการผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ด้วยตัวแบบการประเมินความเสี่ยงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และ การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการบูรณาการวิธีการต่างๆ  โดยมีประชากร 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเป้าหมายการวิจัย เป็นกลุ่มผู้ผลิต OTOP อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลการวิจัยซึ่งประกอบด้วย (1) กลุ่มผู้ผลิต OTOP อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ (2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (3) กลุ่มบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (4) กลุ่มผู้บริโภคสินค้า OTOP การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการศึกษาการประเมินความเสี่ยงของการผลิต OTOP มี 4 ข้อ คือ

                    1.1 ตัวแบบการประเมินความเสี่ยงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นองค์ประกอบของการประเมินความเสี่ยงการผลิต OTOP


                    1.2 มีความเสี่ยงอยู่ 27 ประเด็น จากประเด็นความเสี่ยงทั้งหมด 42 ประเด็น ส่วนอีก 15 ประเด็นไม่มีผู้ผลิตรายใดมีความเสี่ยงในประเด็นดังกล่าว


                    1.3 ค่าความเสี่ยงมีค่าต่ำที่สุด คือ 1 และสูงที่สุด คือ 7.5 มีระดับของความเสี่ยงอยู่ใน 3 ระดับ คือระดับต่ำมาก ระดับต่ำ และระดับปานกลาง


                    1.4 มีแนวทางจัดการความเสี่ยง 2 แนวทางคือ (1) ไม่ต้องควบคุมความเสี่ยง และ ไม่ต้องจัดการเพิ่มเติม 22 ประเด็น และ (2) ต้องมีการควบคุมป้องกันไม่ให้ความเสี่ยงเคลื่อนย้ายไประดับที่ยอมรับไม่ได้ 5 ประเด็น              


  1. แนวทางเสริมสร้างศักยภาพการผลิต OTOP ที่สำคัญ 10 แนวทาง คือ 1) นำนวัตกรรมมาใช้ในการผลิตสินค้า 2) พัฒนาความรู้ในการผลิตให้กับผู้ผลิต 3) น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการผลิตสินค้า 4) เพิ่มแหล่งเงินทุนให้กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ผลิต 5) ผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่เมื่อผลิตภัณฑ์เดิมมีปัญหาด้านต้นทุนการผลิตและขาดแคลนวัตถุดิบ 6) นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นตัวบ่งชี้วัตถุดิบตามสภาพภูมิศาสตร์ (Geographical Geographic Indication: GI) 7) นำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตและในด้านบรรจุภัณฑ์ 8) สร้างค่านิยมเพื่อให้มีการสืบทอดกิจการ 9)ภาครัฐควรมีการบูรณาการร่วมกันเป็นเอกภาพในการบริหารงาน และ10) เสริมสร้างธรรมาภิบาลในการจัดสรรเงินทุน และทรัพยากร

           The research serves 2 aims of this study. The first is to study the risk of production for OTOP and the second is to propose the way to reinforce the production for OTOP with Risk Assessment Model toward Philosophy of the Sufficiency Economy in Bang Bo District, Samut Prakan Province. In terms of integrations, multiple-methods are applied to qualitative and quantitative research. This includes two groups of populations. One is target population involving OTOP manufacturers in Bang Bo district, Samut Prakarn province whereas the other is Key Informants. This group composes of 1) OTOP manufacturer 2) special expert 3) government officer and local administrative officer and 4) OTOP consumers. Qualitative research uses content analysis. Whereas, quantitative research employs descriptive statistics involved percentage and arithmetic mean. The finding review as follows:


  1. Study results of OTOP production expresses four items of risk assessment.

                    1.1 Risk Assessment Model toward Philosophy of the Sufficiency Economy in Bang Bo District, Samut Prakan Province is a component of OTOP production risk assessment toward Philosophy of the Sufficiency Economy for using assess OTOP production in Bang Bo district, Samutprakarn province.


                    1.2 A number of risk factors (42 items) are examined and served two kinds of measure. The first measure clarifies 27 items as acceptable risk and the rest (15 items) are not at risk.


                    1.3 The minimum risk is 1 and the maximum is 7.5. The level of risk categorized into 3 levels -- very low level, low level and medium level.


                    1.4 By taking 27 items into account of risk study, 2 ways are performed, 22 items being ignored to control and terminated at risk, whereas 5 items being controllable and prevented to the level at unacceptable risk


  1. Supplementing OTOP production to higher level of potential, focus group discussion reveals 10  ways of benefit to reinforce the production of OTOP -- (1) using innovation to improve production and upgrading to the standard level, (2) having knowledge base and body of knowledge (3) Implying the Philosophy of the Sufficiency Economy toward production of OTOP (4) having a low interest rate in OTOP loan (5) creating new product whenever encountering hurdle of investment and raw material cost (6) implementing geographical indication (GI) (7) carrying on the science and technology to solve the production and applying the science and technology to packaging (8) creating the value in business succession (9) integrating units to public sectors with harmonized activity to serve the OTOP (10) and resources and fun managing with good governance.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ