การปรับแต่งและอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนร่วมระดับประถมศึกษา(Thai Language Teaching Modifications and Accommodations for Students with Learning Disabilities in Elementary Inclus-) Thai Language Teaching Modifications and Accommodations for Students with Learning Disabilities in Elementary Inclusive Classrooms

Main Article Content

สิระ สมนาม (Sira Somnam)
รัชชุกาญจน์ ทองถาวร (Rajchukarn Thongtawon)
วิไลพร ธนสุวรรณ (Wilaiporn Tanasuwan)
สุภาพร ชินชัย (Supaporn Chinchai)

Abstract

              วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษาลักษณะการเรียนรู้ที่เป็นปัญหาของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  ความรู้ของครูต่อการสอนผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้วิชาภาษาไทยวิธีการปรับแต่งและอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในห้องเรียนร่วมระดับประถมศึกษา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอน สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 54 คน  ครูสอนวิชาภาษาไทยจำนวน 34 คน  นักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้วิชาภาษาไทย 36 คน จากโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม 18 โรงเรียน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ 6 เขตพื้นที่


               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนร่วมระดับประถมศึกษา แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครูภาษาไทยในห้องเรียนร่วมระดับประถมศึกษา แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการอ่านเขียน และชุดคำถามสำหรับการสนทนากลุ่มของครูที่สอนผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนร่วม ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการแปลความ


               ผลการวิจัยมีดังนี้


  1. นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนร่วมวิชาภาษาไทยในระดับประถมศึกษาส่วนใหญ่ มีลักษณะการเรียนรู้ที่เป็นปัญหาด้านการอ่าน ได้แก่ ตัวอักษร จังหวะและท่วงทำนอง และอื่น ๆ  ส่วนลักษณะการเรียนรู้ที่เป็นปัญหาด้านการเขียน ได้แก่ ตัวอักษรวิธีเขียน รูปแบบการเขียน และอื่น ๆ 

  2. ครูภาษาไทยในห้องเรียนร่วมระดับประถมศึกษาส่วนใหญ่ มีความรู้เกี่ยวกับการสอนผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ด้านทฤษฎีการเรียนรู้ แนวทางการจัดการเรียนการสอน การปรับแต่งและอำนวยความสะดวก ในระดับปานกลาง

  3. ครูภาษาไทยในห้องเรียนร่วมระดับประถมศึกษาส่วนใหญ่ใช้กลวิธีการอำนวยความสะดวกในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อจัดการชั้นเรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อาทิ การทบทวนประเด็นสำคัญก่อนเริ่มบทเรียนใหม่ การพูดช้า ชัดเจน และเป็นธรรมชาติ เมื่อบรรยายเนื้อหาในบทเรียน การสรุปประเด็นสำคัญในตอนท้ายคาบ เป็นต้น ส่วนวิธีการปรับแต่งด้านเนื้อหา การวัดและประเมินผล ไม่ปรากฏระหว่างการสังเกตในห้องเรียนร่วม

  4. ครูผู้สอนนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนร่วมในระดับประถมศึกษาส่วนใหญ่ มีปัญหาด้านการคัดกรองนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ ขาดวิธีสอน เทคนิคการสอนที่เหมาะสมสำหรับการสอนในห้องเรียนร่วม ความร่วมมือและทัศนคติของผู้ปกครองต่อภาวะความบกพร่องทางการเรียนรู้ของบุตรหลาน และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน สำหรับข้อเสนอแนะในการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ครูผู้สอนส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ควรมีผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาพิเศษประจำโรงเรียน เพื่อให้คำปรึกษา หรือชี้แนะบุคลากรในโรงเรียน ควรมีการจัดฝึกอบรมครูผู้สอนในห้องเรียนร่วมในด้านวิธีสอน เทคนิคการสอนที่เหมาะสม และการสร้างสื่อการสอน และควรจัดตั้งศูนย์เครือข่ายพัฒนาครูการศึกษาพิเศษที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

          The objectives of this research were to investigate the types of difficulty of the students  with learning disabilities, the teachers’ knowledge of teaching the Thai language to the students with learning disabilities,Thai language teaching modification and accommodation strategies for learning disability students in elementary inclusive classrooms, problems and suggestions for developing instructional management skills for the students with learning disabilities. The subjects were fifty-four school administrators, thirty-four Thai language teachers in the inclusive classrooms ,and  thirty-six students with learning disabilities from  eighteen leading inclusive  schools each of which are under Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 1-6.


               The research instruments included an interviewing form for the school administrators, and the Thai language teachers of learning disability students, a questionnaire on the knowledge involving the Thai language teaching in the elementary inclusive classrooms, a teaching behavior observation form, a student observation form for learning disabilities in reading and writing, and a set of questions for group discussion.The data obtained were analyzed using frequency, percentage,mean, standard deviation and the interpretative analysis.


               The research findings were as follows  :


  1. Most of the learning disability students in elementary inclusive classrooms had the reading difficulties in the letters including vowels and tone marks, rhythm, and others; whereas, those in writing were the letters including vowels and tone marks, ways of writing, writing styles,  and others

  2. Most of the Thai language teachers in the elementary inclusive classrooms had the knowledge of the Thai language teaching in the elementary inclusive classrooms related to the learning theories, teaching and learning guidelines, modifications and accommodations at a moderate level.  

  3. Most of the Thai language teachers in the elementary inclusive classrooms used the accommodation strategies in the teaching and learning procedure for the classroom management ;for example, reviewing the learned experience before the new lesson started, speaking slowly, clearly and naturally during the lecture, and summarizing the main points of the lesson. However, the modification strategies in contents, measurement and evaluation were not found during observation.

  1. Most of the teachers in the elementary inclusive classrooms had the problems of learning disability screening, lacking the knowledge of special education, suitable teaching methods and techniques,  the cooperation of the learning disability students’ parents and their attitude toward the learning disabilities of the children , and the school environment.  They suggested that there be special education experts giving advice if needed ,and the workshops on effective teaching models used in the inclusive classrooms, and teaching aid production be organized. Besides that, Network Center for Special Education Teachers’ Development should be founded in Faculty of Education, Chiang Mai University.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ