บทบาทของท้องถิ่นต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษา ทะเลบัวแดง จ. อุดรธานี (Local role in ecotourism management case study in Red Lotus sea Udon Thani)

Main Article Content

ณัฐวรรณ ภูพันนา (Natthawan Pupanna)
ศิวัช ศรีโภคางกุล (Siwach Sripokangkul)

Abstract

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1.ศึกษาระบบบทบาทการดำเนินงาน 2.ปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหา และ3.เพื่อเสนอแนวทางในการดำเนินงานร่วมกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับชุมชนที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทะเลบัวแดง จังหวัดอุดรธานี ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มท้องถิ่น (ผู้บริหาร และพนักงานเทศบาลตำบลเชียงแหว) และกลุ่มท้องที่ (นอกเหนือจากกลุ่มแรก ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ประกอบการนำเที่ยว ผู้ประกอบอาชีพค้าขายในบริเวณทะเลบัวแดง ตลอดจนประชาชนในพื้นที่) รวมทั้งสองกลุ่ม 28 คน และใช้วิธีการศึกษาเอกสารเพิ่มเติม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แนวคำถามแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และเครื่องมือสำหรับบันทึกข้อมูลภาคสนาม ผลการศึกษา พบว่า บทบาทการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลเชียงแหว ผู้นำชุมชน และประชาชนชนมีการดำเนินการด้านการรักษาความปลอดภัย งานสุขลักษณะ งานกลุ่มเรือ และงานกลุ่มสินค้า OTOP มีการบริหารโดยกลุ่มต่าง ๆ ที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยชุมชน อาทิ คณะกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชียงแหว คณะกรรมการกลุ่มโฮมสเตย์ คณะกรรมการกลุ่ม OTOP เป็นต้น ในส่วนปัญหา พร้อมทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้นประกอบไปด้วย  5 กลุ่ม 14 ประการ คือ 1) ปัญหาที่เกิดจากธรรมชาติ 2 ประการ แก้ปัญหาได้โดยการ 2) ปัญหาที่เกิดจากการดำเนินงาน และละเว้นการดำเนินงานของเทศบาล 4 ประการ 3) ปัญหาที่เกิดจากกลุ่มชุมชนต่าง ๆ 2 ประการ 4) ปัญหาที่เกิดจากนักท่องเที่ยวและชุมชน 3 ประการ และ5) ปัญหาด้านการประสานงาน  และวิธีการดำเนินงานร่วมกันผู้วิจัยจำแนกตามเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ 3 ระดับ คือ 1. การดำเนินงานร่วมกันในปัจจุบัน 2. สิ่งที่ควรดำเนินการให้เกิดขึ้น และ3. แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม 5 ระดับ


 


                     This research had the objective to study the role, problems, and guidelines for solutions for local collaboration in promotion of eco-tourism by conducting a case study of Red Lotus Lake, Udorn Thani Province.  Data were collected by in-depth interview with 28 key informants, including local managers and staff of the Chiang Wae Tambon Municipality, and local leaders such as the Kamnan, village headmen, tourist business owners, and merchants.  This study found that the role of management of the Chiang Wae Tambon Municipality, local leaders and the local population include the need for providing security, safety, and hygiene.  The lake boat groups and OTOP have been formed by the community.  There is a committee for tourism to the Chiang Wae Community, a committee for home stay, a committee for OTOP, among others. Guidelines for addressing the problems 5 Groups 14 points include 1) The problem of nature 2 Aspects. 2) Problems caused by the operation. And ignoring the four municipalities. 3) Problems caused by two community groups. 4) Problems caused by tourists and 3communities. And 5) coordination problems. Guidelines for collaborative implementation include (1) Implementation at present; (2) Areas for improvement; and (3) Guidelines for promoting collaboration at five levels.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ