การพัฒนารูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในยุคประเทศไทย 4.0 ของกองทัพบก (The Development Of A Learning Organization Model For The Royal Thai Army In The Era Of Thailand 4.0 )

Main Article Content

รัตน์มณี สุยะใจ (Ratmanee Suyajai)
อัมพวัลย์ วิศวธีรานนท์ (Ampawan Visavateeranon)
กัมปนาท บริบูรณ์ (Gumpanat Boriboon)
ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล (Chanoknart Boonwatthanakul)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของกองทัพบก 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของกองทัพบกให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์เชิงนโยบายในการพัฒนาประเทศไทย 4.0  ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยจำนวน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพบก คณะกรรมการการจัดการความรู้ของกองทัพบก และข้าราชการทหาร รวมจำนวน 14 คน กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย คณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการความรู้ และผู้ทรงคุณวุฒิ รวมจำนวน 10 คน และกลุ่มที่ 3 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมิน จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interview) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และสถิติเชิงพรรณา (Descriptive statistics) ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้


               1) สภาพปัจจุบัน พบว่ากองทัพบกมีนโยบาย และเป้าหมายที่ชัดเจน มีการกำหนดแผนและระยะเวลาที่แน่นอนมีระบบการฝึกศึกษากำลังพลทุกระดับ มีคลังความรู้ มีระบบสารสนเทศพื้นฐานที่สามารถนำมาใช้พัฒนาเครือข่ายของผู้เรียนได้ สำหรับประเด็นปัญหา คือ กำลังพลบางส่วนขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่ให้ความสำคัญ ผู้นำบางหน่วย ไม่มีมาตรการสนับสนุน หรือส่งเสริมให้กำลังพลได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ วัฒนธรรมของความมีวินัย การปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด ทำให้กำลังพลบางส่วนขาดความคิดริเริ่ม ความคิดสร้างสรรค์


               2) รูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในยุคประเทศไทย 4.0 ของกองทัพบก แบ่งออกเป็น 3 มิติ คือ1) มิติด้านการบริหารจัดการองค์การ ประกอบด้วย การมีวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์ โครงสร้าง การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม การมีแบบแผนทางความคิดร่วมกัน และบุคคลที่พร้อมยืดหยุ่น ปรับตัว  2) มิติด้านการบริหารจัดการความรู้ ประกอบด้วย การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ ผู้นำ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างเครือข่าย การเป็นบุคคลรอบรู้ การคิดอย่างเป็นระบบ และการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) มิติด้านการบริหารจัดการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ประกอบด้วย การกำหนดเทคโนโลยีและการสื่อสารในการสนับสนุนการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการนำตนเอง การมีผู้รับผิดชอบหลัก การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน การเผยแพร่ความรู้ และการสร้างขวัญและกำลังใจ

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ